HIGHLIGHT CONTENT

Earth 616/Earth 833 สองโลกนี้มาจากไหน? พร้อมเจาะ Easter Egg อื่นอีกเพียบ!!

  • 11,452
  • 08 ก.ค. 2019

 

 

บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาภายในเรื่อง

 

                Spider-Man: Far From Home ถูกวางไว้ว่าให้เป็นภาพยนตร์ส่งท้ายปิด MCU เฟสที่ 3 ปีเตอร์ พาร์คเกอร์ต้องเผชิญหน้ากับการทดสอบและบทพิสูจน์ตัวตนของเขาในฐานะของซูเปอร์ฮีโร่อีกครั้ง และตัวสไปเดอร์แมนเอง ภายใต้ชุดและพลังเหนือมนุษย์ เขายังคงเป็นแค่เด็กวัยรุ่นคนหนึ่งเท่านั้น นั่นคือสิ่งที่มาร์เวลตั้งใจจะนำเสนอให้พวกเราได้ชมกันไปในภาพยนตร์ แต่นอกจากนั้นแล้วพวกเขายังซ่อนเรื่องราวเอาไว้อีกไม่น้อย เป็นเรื่องราวที่อ้างอิง อธิบาย และเชื่อมโยง Marvel Cinematic Universe เข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นมากกว่าภาพยนตร์ภาคต่อของสไปเดอร์แมน จะมีอะไรบ้างไปดูกัน

 

เรื่องราวของกัปตันอเมริกาที่ถูกปกปิดไว้

                เริ่มต้นเรื่องของ Spider-Man: Far From Home ด้วยเพลงอมตะของตัวแม่วิทนีย์ ฮิวส์ตัน กับ I will always love you ที่เหล่าบรรดานักเรียนเพื่อนพ้องในโรงเรียนของปีเตอร์ตั้งใจทำเพื่ออุทิศให้กับเหล่าฮีโร่ผู้ล่วงลับ พวกเขารู้ตรงกันกับพวกเราว่า วิชั่น, แบล็ควิโดว์ และไอออนแมนจากไปอย่างไม่มีวันหวนคืน แต่ตัวกัปตันอเมริกานั้น พวกเขารู้เรื่องราวต่างจากเรา แสดงให้เห็นว่าในความรับรู้ของคนทั่วไป สตีฟ โรเจอร์ได้จากโลกไปแล้วตลอดกาล แต่ในความเป็นจริงพวกเรารู้ว่าเขาแค่มีอายุมากขึ้น และยังคงใช้ชีวิตอย่างสงบสุขของตัวเองอย่างเป็นความลับ

 

โปสเตอร์การแข่งมวยปล้ำ

                ผลจากการ ‘บลิ๊บ’ สร้างผลกระทบมากมายแก่ทุกชีวิตบนโลก ทั้งคนที่หายไปและคนที่ยังอยู่ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้เอง ป้าเมย์ จึงได้จัดตั้งมูลนิธิเพื่อช่วยเหลือคนที่ประสบปัญหาจากเหตุการณ์ดังกล่าว โดยได้ดึงเอาสไปเดอร์แมนมาร่วมในการประชาสัมพันธ์ ซึ่งเพพเพอร์ พ็อตต์เองก็เป็นผู้บริจาครายใหญ่อยู่เบื้องหลัง โดยคนที่นำเอาเช็คบริจาคมามอบให้ก็คือแฮปปี้ โฮแกน และตอนนั้นเองเราก็ได้รู้ว่าเขาแอบกุ๊กกิ๊กอยู่กับป้าเมย์ แต่ข้ามเรื่องตรงนั้นไป ข้างหลังของแฮปปี้จะมีโปสเตอร์งานแข่งขันมวยปล้ำ ระหว่าง Crusher Hogan และ Bone Saw McGraw

                โดยตัว Crusher Hogan เป็นตัวละครในคอมิกส์ที่ปรากฎตัวในหัวเรื่อง Amazing Fantasy #15 ซึ่งเป็นเล่มแรกที่ Spider-Man ได้ปรากฎตัว ในขณะที่ Bone Saw McGraw นั้นปรากฎตัวในภาพยนตร์เรื่อง Spider-Man ภาคแรกจากฝีมือการกำกับของแซม ไรมี นั่นเอง

 

กระเป๋าของลุงเบนถึงปีเตอร์

                การเดินทางไปทัศนศึกษาต่างประเทศของปีเตอร์ พาร์คเกอร์ แน่นอนว่าเขาต้องเก็บกระเป๋า และหากสังเกตดี ๆ แล้ว บนกระเป๋าที่ปีเตอร์เก็บสัมภาระเข้าไปนี้ มีสลักตัวอักษรว่า BFP ย่อมาจาก Benjamin Franklin Parker หรือก็คือ ลุงเบน นั่นเอง นับเป็นการอ้างอิงถึงแบบชัดเจนครั้งแรกในภาพยนตร์ Spider-Man เวอร์ชั่นของ Marvel

 

บรรดาสารคดีบนเครื่องบิน

                ในขณะที่แผนการพยายามใกล้ชิดเอ็มเจของปีเตอร์ที่ล่มไม่เป็นท่า เขาต้องนั่งอยู่ข้างกับครูที่ปรึกษา ด้วยความเบื่อหน่ายบนเครื่องบินนั้นเอง ปีเตอร์กดเลื่อนดูวีดีโอที่สามารถชมได้บนเครื่องบิน ซึ่งบรรดาวีดีโอนั้นล้วนเป็นสารคดี แต่ไม่ใช่สารคดีธรรมดา เริ่มต้นจากเรื่องแรกที่ชื่อ The Snap ที่มีโปสเตอร์เป็นรูป Infinity Gauntlet และบรรดาอัญมณี ต่อเนื่องมาด้วยวีดีโอ Finding Wanda, Hunting Hydra และสุดท้ายที่ทำให้ปีเตอร์ตัดสินใจปิดน่าจอลงก็คือ Heart of Iron: The Tony Stark Story ช่วยยืนยันว่าในโลกของปีเตอร์นั้น ซูเปอร์ฮีโร่เป็นเรื่องราวเปิดเผย และทุกคนใช้ชีวิตอยู่กับเรื่องราวพวกนี้อย่างใกล้ชิด

 

ที่มาของ Hydro-Man

                ทัศนศึกษาที่เวนิสของปีเตอร์และผองเพื่อนถูกทำลายลงทันทีเมื่อมีการปรากฎตัวของ สิ่งมีชีวิตประหลาดจากต่างมิติที่สามารถควบคุมน้ำได้ หนึ่งในสมาชิกของ The Elementals ที่สุดท้ายบุรุษปริศนามิสเตริโอได้ออกมาปราบปรามลงไป ก่อนที่ภายหลังเราจะรู้ว่าทั้งหมดเป็นเรื่องราวที่ถูกปั้นแต่งขึ้นมาทั้งนั้น แต่หลังจากเหตุการณ์สงบ เหล่าเด็ก ๆ เพื่อนพ้องปีเตอร์ที่มารวมตัวกันอยู่ในห้องส่วนกลางของโรงแรม แฟลช ทอมป์สันก็ได้ค้นอินเตอร์เน็ตแล้วพูดถึงเรื่องของ Morris Bench กะลาสีที่ประสบเหตุระหว่างการทดลอง ทำให้ร่างกายของเขากลายเป็นน้ำ ซึ่งนั่นคือจุดกำเนิดของไฮโดรแมนในคอมิกส์ของมาร์เวล และตัวไฮโดรแมนนี้ก็มีลักษณะไม่ต่างจากตัวที่ปรากฎในเวนิส นั่นทำให้เราอาจจะพอเดาได้ว่าตัวไฮโดรแมนนั้นมีตัวตนอยู่ที่ไหนสักแห่งใน MCU

 

การอ้างอิงถึงผู้เขียนคอมิกส์สไปเดอร์แมน

                หากไม่มีเหล่าผู้เขียนสไปเดอร์แมน เราก็อาจจะไม่ได้ชมภาพยนตร์ไอ้แมงมุมในวันนี้ และใน Spider-Man: Far From Home นี้ พวกเขาก็มีอ้างอิงถึงเหล่าบรรดานักเขียนที่เกี่ยวข้องกับคอมิกส์สไปเดอร์แมนด้วย โดยชื่อของพวกเขาได้ปรากฎอยู่บนป้ายบอกทางในเมืองเวนิส ได้แก่ Slotto - Dan Slott ผู้เขียน Spider-Man, Michelinio - David Michelinie ผู้ร่วมสร้าง Venom และ Bendisio - Brian Michael Bendis จาก the Ultimate Spider-Man

 

พลังอันยิ่งใหญ่มาพร้อมกับ...ในเวอร์ชั่นของ Marvel

                “พลังอันยิ่งใหญ่มาพร้อมกับความรับผิดชอบอันใหญ่ยิ่ง” คือประโยคเด็ดสุด Iconic ที่สามารถอธิบายความเป็นปีเตอร์ พาร์คเกอร์ และ สไปเดอร์แมนได้มาตั้งแต่ Spider-Man ภาคแรก และผู้ที่พูดประโยคนี้อย่างลุงเบนก็ไม่ได้ปรากฎตัวในเวอร์ชั่นของ MCU แต่เรื่องราวของปีเตอร์ก็ยังคงตั้งคำถามกับประเด็นนี้อยู่เสมอ ซึ่งใน Spider-Man: Far From Home นี้เองก็มีประโยคในทำนองนี้ถูกพูดขึ้นมาเช่นกัน นั่นคือ Uneasy lies the head that wears the crown. ซึ่งเป็นประโยคจากผลงานการแต่งของเชคสเปียร์ เกี่ยวข้องกับเรื่องราวของหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกัน

 

Earth 616 และ Earth 833

                สร้างความฮือฮากันในหมู่บรรดาแฟนมาร์เวลในทันทีเมื่อเควนติน เบค กล่าวไว้ในตัวอย่าง Spider-Man: Far From Home เอาไว้ว่าเขามาจากต่างมิติ โดยโลกที่มีเหล่าอเวนเจอร์สถูกเรียกว่า Earth 616 ส่วนตัวเขามาจาก Earth 833 แม้ว่าภายหลังทุกคนจะรู้ว่าทั้งหมดเป็นเรื่องที่ถูกแต่งขึ้น แต่ตัวเลขของโลกเหล่านี้มีความหมายในเวอร์ชั่นคอมิกส์ของ Marvel โดย Earth 616 นั้นเป็นจักรวาลหลักของเรื่องราวในคอมิกส์มาร์เวล ส่วน Earth 833 เป็นจักรวาลอีกมิติหนึ่งที่ฮีโร่ผู้มีพลังแมงมุมของประเทศอังกฤษ หรือ Spider-UK มีตัวตนอยู่นั่นเอง

 

บรรดาตัวเลขบนป้ายต่าง ๆ

                จุดเล็กจุดน้อยทาง Marvel ก็ไม่ปล่อยผ่าน และมันมีความหมายอ้างอิงอยู่เสมอ เริ่มต้นตั้งแต่ป้ายทะเบียนรถที่มาเรีย ฮิลล์ และนิค ฟิวรี่ขับไปยังสถานที่เกิดเหตุภัยพิบัติในประเทศเม็กซิโก เป็นป้ายทะเบียนเลข MTU83779 อ้างอิงถึงคอมิกส์หัวเรื่อง Marvel Team Up เล่มที่ 83 ชื่อตอนคือ "Spider-Man and Nick Fury" ถูกปล่อยในเดือน 7 (กรกฎาคม) ปี 1979 นอกจากนี้แล้วป้ายของเรือที่แล่นไปในเวนิสนั้นคือ “ASM212” อ้างอิงถึงคอมิกส์หัวเรื่อง Amazing Spider-Man เล่มที่ 212 ที่ไฮโดรแมนปรากฎตัวเป็นครั้งแรก

 

ซอมบี้ไอออนแมน

                หนึ่งในฉากที่สะเทือนใจปีเตอร์ พาร์คเกอร์มากที่สุดก็คือ การต้องเผชิญหน้ากับภาพมายาเต็มรูปแบบของมิสเตริโอ เขาต้องต่อสู้กับภาพลวงตาที่ถูกสร้างขึ้น นอกเหนือไปจากการอ้างอิงถึงฉากสุดสะเทือนใจที่เกว็น สเตซี ของสไปเดอร์แมนในเวอร์ชั่นของแอนดรูว์ การ์ฟิลด์ที่ตกข้างหอคอย แต่แทนที่ด้วย MJ ในภาคนี้แล้ว อีกอย่างหนึ่งที่กระทบต่อจิตใตของปีเตอร์มากที่สุดคือการลุกขึ้นมาจากหลุมศพของซอมบี้ไอออนแมนสุดสยองขวัญ ซึ่งนี่เป็นการอ้างอิงถึงคอมิกส์หัวเรื่อง Marvel Zombie ที่เหล่าฮีโร่ของมาร์เวลกลายเป็นซอมบี้ทั้งหมด และตัวซอมบี้ไอออนแมนก็ปรากฎตัวบนหน้าปกของคอมิกส์หัวเรื่องนี้ในเล่มแรก

 

Back in Black จากไอออนแมน ถึง สไปเดอร์แมน

                นอกจาก Spider-Man: Far From Home จะเป็นภาพยนตร์ปิดเฟส 3 แล้ว ยังเป็นภาพยนตร์ไว้อาลัยให้กับ Iron Man ด้วยเช่นกัน และพวกเขามีวิธีอ้างอิงถึงได้จนทำให้แฟน ๆ ไอออนแมนประทับใจอย่างเต็มตื้น นั่นคือ ฉากที่ปีเตอร์ต้องการสร้างชุดใหม่ และถูกแนะนำให้เข้าไปสร้างในห้องแล็ปลับบนยาน Stark’s Jet แฮปปี้ โฮแกนที่เป็นเหมือนพี่เลี้ยงก็บอกให้เขาไปเลือกชุดเสีย ส่วนตัวแฮปปี้นั้นจะเป็นคนเลือกเพลงเอง ซึ่งเพลงที่เขาเลือกก็คือเพลง Back in Black ของวง AC/DC ซึ่งเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ Iron Man 2 โดยแน่นอนว่าคนที่เลือกเพลงประกอบก็คือผู้กำกับ และผู้กำกับคนนั้นก็คือจอห์น ฟาฟวโร ที่แสดงเป็นแฮปปี้ โฮแกนใน Spider-Man: Far From Home เช่นกัน

 

ตึก Avengers ในมือเจ้าของคนใหม่

                ใน Spider-Man: Homecoming เราได้รู้ว่าตึก Avengers Tower ถูกขายให้กับเจ้าของคนใหม่แล้ว ทำให้หลายคนคาดหวังว่าในภาพยนตร์ภาค Far From Home นี้เราจะได้เห็นคำใบ้เล็ก ๆ น้อย ๆ ถึงเจ้าของคนใหม่ที่ว่า แต่จนแล้วจนรอด Marvel ก็อุบความลับนั้นเอาไว้เงียบสนิท เราได้เห็นส่วนเล็ก ๆ น้อย ๆ ของตึกเท่านั้น แต่นั่นก็อาจจะไม่เพียงพอที่จะบอกได้ว่าใครคือเจ้าของคนใหม่ แต่แฟน ๆ ก็คาดเดากันจนสามารถจำกัดความเป็นไปได้เหลือเพียงแค่ ครอบครัว Fantastic Four หรือไม่ก็เป็นอีกหนึ่งวายร้ายตลอดกาลของสไปเดอร์แมนอย่าง นอร์แมน ออสบอร์น

 

การเปิดเผยตัวตนของสไปเดอร์แมน

                ฉากพิเศษท้ายเครดิตตัวแรก เริ่มต้นจากความฮาแบบน่ารักกุ๊กกิ๊กระหว่างสไปเดอร์แมนกับ MJ ก่อนจะพลิกทุกอย่างในชีวิตของปีเตอร์ไปตลอดกาล ด้วยการปรากฎบนหน้าจอใหญ่ยักษ์ มิสเตริโอได้เปิดเผยตัวตนของสไปเดอร์แมนว่าตัวจริงคือ ปีเตอร์ พาร์คเกอร์พร้อมโชว์ใบหน้า ก่อนที่หัวหน้าบรรณาธิการ J. Jonah Jameson ที่รับบทโดยนักแสดงคนเดิมจากเวอร์ชั่นของโทบี้ แม็คไกวร์ J.K. Simmons มากล่าวเพิ่มเติม

                การเปิดเผยตัวตนนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในฉบับคอมิกส์ Civil War ซึ่งการเปิดเผยนี้เองทำให้ชีวิตของคนรอบข้างของปีเตอร์ตกอยู่ในอันตราย ป้าเมย์โดนลูกหลงจนบาดเจ็บสาหัส ชีวิตของปีเตอร์ไม่ปลอดภัยอีกต่อไป โดยการเปิดเผยนี้สามารถเชื่อมไปได้ถึงฉากพิเศษท้ายเครดิตของภาค Homecoming กับการปรากฎตัวของแม็คการ์เกน ผู้ที่เป็นวายร้ายสกอร์เปี้ยนจากคอมิกส์ ที่ได้เขามาถามเอเดรียน ทูมส์ หรือวัลเจอร์ว่าเขารู้ตัวตนของปีเตอร์หรือไม่ แม้เอเดรียนจะไม่ปริปากบอก แต่ตัวแม็คการ์เกนเองก็ย้ำเพิ่มว่าหากเขารู้ สไปเดอร์แมนจะไม่มีชีวิตรอดแน่นอน เรียกได้ว่าเป็นการปูทางสู่อนาคตของสไปเดอร์แมนที่น่าจะจริงจัง หดหู่ และน่าตื่นเต้น แตกต่างจากภาพยนตร์ 2 ภาคที่ผ่านมาอย่างแน่นอน

 

นิค ฟิวรี่ คือ สครัลล์ และองค์กร S.W.O.R.D

                พีคอย่างต่อเนื่องจนหยดสุดท้าย กับฉากพิเศษท้ายเครดิตตัวที่ 2 ที่ตอบคำถามว่าทำไมนิค ฟิวรี่ในภาพยนตร์เรื่องนี้ให้ความรู้สึกแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับภาพยนตร์เรื่องที่ผ่าน ๆ มา โดยพวกเขาก็เฉลยแล้วว่านิค ฟิวรี่ที่ปฏิบัติการตลอดเรื่องก็คือทาลอส และภรรยาของเขา เอเลี่ยนชาวสครัลล์ที่สามารถแปลงร่างได้จากภาพยนตร์เรื่อง Captain Marvel ได้ทำหน้าที่แทนนิค ฟิวรี่ ส่วนตัวนิค ฟิวรี่เองก็ได้ไปอาศัยอยู่บนฐานทัพปริศนานอกโลกแล้ว คำถามก็คือทาลอส ปลอมเป็นนิค ฟิวรี่มาตั้งแต่ตอนไหน?

                แต่ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับฐานบัญชาการนอกโลกที่นิค ฟิวรี่ทำงานอยู่นั้น ในฉบับคอมิกส์ มันไม่ใช่หน่วยชิลด์ แต่มันคือหน่วยซอร์ด (S.W.O.R.D - Sentient World Observation and Response Department) หน่วยงานที่คอยดูแลภัยคุกคามจากนอกโลก พร้อมกับยืนยันว่า Marvel ในเฟสที่ 4 นั้นจะเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับนอกโลกมากกว่าที่ผ่านมาอย่างแน่นอน

 

Source: Screen Rant

จอมเวทย์มหากาฬ

  • 26 October 2016
  • Adventure / แอ็คชัน / วิทยาศาสตร์ /
  • 115 นาที
15+

ข่าวที่เกี่ยวข้อง