HIGHLIGHT CONTENT

จะเป็นอย่างไรหากเราไปอยู่บนดาวแพนโดร่า? สามสิ่งที่มีผลต่อการใช้ชีวิตบนดาวแพนโดร่า

  • 1,587
  • 14 ธ.ค. 2022

แพนโดร่าอาจจะเป็นดาวในฝันสำหรับใครหลาย ๆ คนที่เคยรับชมภาพยนตร์ภาคแรกในปี 2009 ที่ได้พาเราไปท่องโลกที่เต็มไปด้วยระบบที่นิเวศที่แปลกตา ทั้งภูมิประเทศอย่างก้อนหินลอยฟ้า หรือพืชพรรณและสัตว์ป่าเรืองแสงที่พบเห็นได้ทั่วไปบนพื้นดาว แถมสภาพอากาศบนดาวก็ดูแสนจะสดใสแตกต่างจากโลกของเราทุกวันนี้เสียเหลือเกิน จนในใจจะอยากจะย้ายหนีออกไปจากโลกใบเดิมของเราแทบจะทันที แต่ก็มีบางอย่างที่อาจจะต้องทบทวนก่อนย้ายเข้าไปอยู่อาศัย ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณไปเช็คให้แน่ใจก่อนว่า ถ้าเราจะย้ายดาวกันจริง ๆ จะเตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งพวกนี้ไหวหรือไม่

1. ชั้นบรรยากาศ

ชั้นบรรยากาสของดาวแพนโดร่าประกอบไปด้วยไนโตรเจน, ออกซิเจน, คาร์บอนไดออกไซด์  (>18%), ซีนอน (>5.5%), มีเทน และไฮโดนเจนซัลไฟด์ (>1%) โดยมีความหนาแน่นมากว่าชั้นบรรยากาศของโลกประมาณ 20% เนื่องจากมีส่วนประกอบของซีนอนมาก ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ที่สูงบนแพนโดร่าทำให้เป็นพิษอย่างมากต่อมนุษย์ สามารถทำให้หมดสติได้ภายในเวลาประมาณ 20 วินาที และเสียชีวิตได้ภายในเวลาประมาณ 4 นาที หากออกสำรวจดาวโดยไม่ได้สวมหน้ากากที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อช่วยในการหายใจ ไฮโดนเจนซัลไฟด์ก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่ถือว่าเป็นพิษสำหรับมนุษย์อยู่พอสมควร การสูดดมไฮโดนเจนซัลไฟด์ที่มีความเข้มข้นที่สูงกว่า 1000 ppm เพียงครั้งเดียวก็สามารถทำให้หมดสติและหายใจไม่ออกได้ทันที


2. ระบบกลางวัน-กลางคืน

แพนโดร่าได้รับแสงปริมาณมากจากดาวฤกษ์ Alpha Centauri B ซึ่งจะทำให้ช่วงเวลาตอนกลางคืนของดาวจะไม่มืดลงเป็นเวลาครึ่งปี Polyphemian โดยปริมาณของแสงจะอยู่ในระดับเดียวกับช่วงรุ่งสางของโลก ในจุดที่โคจรเข้ามาใกล้กันมากที่สุดในวงโคจรดาวฤกษ์ Alpha Centauri B มีความสว่างอยู่ที่ประมาณ 2,300 เท่าของดวงจันทร์ของโลกที่เต็มดวง แม้กระทั่งในจุดที่ห่างไกลที่สุดในวงโคจร มันก็ยังสว่างกว่าถึง 170 เท่า

ในช่วงอีกครึ่งหนึ่งของปี เมื่อดาวฤกษ์ Alpha Centauri B ปรากฏอยู่บนท้องฟ้าในช่วงกลางวัน ส่วนใหญ่ของดาวแพนโดร่าในช่วงเวลากลางคืนจะได้รับแสงจากทั้ง Polyphemus และแสงสะท้อนจากดวงจันทร์อื่นที่โคจรอยู่รอบ ๆ ช่วงเวลากลางคืนที่มืดสนิทนั้นจึงเป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก โดยจะเกิดขึ้นเมื่อดาวเคราะห์ Polyphemus บดบังแสงของดาวฤกษ์ Alpha Centauri B เป็นเวลาประมาณ 100 นาทีในช่วงกลางคืน แต่ว่าแสงสะท้อนจะดาวเคราะห์ดังกล่าวก็ยังทำให้ช่วงกลางคืนไม่มีสนิทอยู่ดี

3. สภาพทางภูมิศาสตร์

ภูมิประเทศบนดาวแพนโดร่านั้นจะแตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ ซึ่งก็จะมีชาวนาวีแต่ละเผ่าตั้งถิ่นฐานอยู่ โดยมนุษย์โลกซึ่งเป็นผู้มาเยือนตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่ป่าดงดิบที่เป็นพื้นที่ของเผ่า Omaticaya โดยจะมีระบบนิเวศที่แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค และภูมิประเทศที่มีความพิเศษอย่างก้อนหินลอยฟ้าที่ปรากฏในภาพยนตร์ภาคแรก ก็ไ้ด้กระจายตัวไปทั่วทั้งดวงดาว

พื้นที่ป่าของแพนโดร่าก็มีพืชพรรณและสัตว์ป่าหลากหลายชนิดเช่นเดียวกับบนโลก ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมทั้งดาวแพนโดร่า และในพื้นที่ป่าเหล่านี้ยังเต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตเรืองแสดงหลากสีสันที่จะปรากฏขึ้นมาในช่วงเวลากลางคืน

สำหรับใครที่มีความคิดจะย้ายไปอยู่บนดาวแพนโดร่าอาจจะต้องทบทวนสักเล็กน้อย เนื่องจากมีทั้งอุปสรรคจากอากาศที่เป็นพิษจนต้องใส่หน้ากากหายใจกันตลอดเวลาเมื่อออกไปข้างนอกสิ่งปลูกสร้าง อีกทั้งช่วงเวลากลางวัน-กลางคืนที่แปลกประหลาดก็อาจจะทำให้คนที่รักการนอนหลับในที่ที่มืดสนิทอยู่ไม่เป็นสุขได้ แถมพื้นที่ส่วนใหญ่ยังเป็นป่าที่ยังคงสิ่งมีชีวิตนักล่าจำนวนมากที่พร้อมจะโจมตีทุกเมื่อหากไม่ระวังตัวอีก

อย่างไรก็ตาม หากใครยังสนใจจะย้ายดาว และอยากที่จะศึกษาข้อมูลก่อนย้ายถิ่นฐานแล้วล่ะก็ สามารถเข้าไปศึกษาได้ในภาพยนตร์ Avatar: The Way of Water ที่เข้าฉายในโรงภาพยนตร์แล้ววันนี้
 

 สำหรับแฟนหนังเมเจอร์ ห้ามพลาดกับบัตรดูหนังสุดคุ้ม M PASS ที่จะทำให้คุณคุ้มเต็มอิ่มกับการดูหนังตลอดทั้งปี เตรียมไปมันส์กับกองทัพหนังดังมากมาย สมัครง่ายๆเพียงแค่คลิก ที่นี่ 

ขอบคุณข้อมูลจาก Avatar Fandom

ข่าวที่เกี่ยวข้อง