HIGHLIGHT CONTENT

เฉลยเรื่องที่หนังไม่ได้บอก Ready Player One ตามล่าไข่แห่งโอเอซิส แข่ง 3 ด่าน หากุญแจ

  • 14,323
  • 28 มี.ค. 2018

 

จากหนังสือสู่หนังไซ-ไฟยอดเยี่ยม Ready Player One

ทุกคนเดินทางมาที่โอเอซิสเพื่อทุกสิ่งที่พวกเขาทำได้
แต่อยู่ที่นี่เพราะสามารถเป็นอะไรก็ได้

 

เมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว คล้ายจะเป็นเรื่องเหลือเชื่อที่เราสามารถเข้าระบบคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างประวัติของตัวเองได้ จะจริงหรือไม่จริงก็ตามแต่ และสามารถเชื่อมต่อกับผู้คนที่ใดบนโลกก็ได้ตามเวลาจริง แต่จะเกิดอะไรขึ้นหาก 30 ปีต่อจากนี้ เราสามารถเข้าระบบและใช้ชีวิตอีกแบบหนึ่งของเราได้ ไม่ว่าจะตรงตามจริงหรือไม่ก็ตาม รวมถึงมีการโต้ตอบกับผู้คนในโลกเสมือนจริงนั่นได้อย่างไร้ขีดจำกัด?  คิดแค่เรื่องความเป็นไปได้... กับเรื่องภัยอันตราย

 

นี่เป็นสมมุติฐานพื้นฐานของหนังสือขายดีจากเออร์เนสต์ ไคลน์ เรื่อง Ready Player One ถ่ายทอดเรื่องราวจินตนาการจากผู้สร้างภาพยนตร์คนหนึ่งที่น่าเคารพและประสบความสำเร็จมาโดยตลอดอย่างสตีเว่น สปีลเบิร์ก “มันเป็นการผจญภัยที่มีความยิ่งใหญ่และกว้างขวาง ซึ่งเป็นเส้นขนานกันระหว่างโลกที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิงสองใบ” เขากล่าว “ผมคิดว่าเออร์เนสต์ ไคลน์เป็นนักจินตนาการที่เขียนเรื่องราวในอนาคตซึ่งอยู่ไม่ไกลเกินไปนัก เราได้เดินทางไปพร้อมกับวิวัฒนาการของโลกเสมือนจริง”

 

 

ผู้แต่งได้ยกเครดิตให้กับสปีลเบิร์กที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการแต่งนิยายเรื่องแรกของเขา “มันยากที่จะบอกได้ว่าผลงานของสตีเว่น สปีลเบิร์กส่งผลต่อชีวิตและความสนใจของผมมากขนาดไหน แต่ผมคงเขียนเรื่อง Ready Player One ออกมาไม่ได้ถ้าไม่โตมาพร้อมกับภาพยนตร์ของเขามาโดยตลอด เหมือนใครสักคนที่โตมาพร้อมกับความหลงใหลในภาพยนตร์ยุค 1970 และ 80 ผลงานของเขาถักทออยู่ในชีวิตของผม หลายเรื่องก็ลงเอยเป็นเรื่องราวในแบบที่ผมเลือกเขียนถ่ายทอดออกมา ซึ่งมีหลักฐานให้เห็นอยู่ในหนังสือทั้งหมด”

 

 “Ready Player One” เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในปี 2045 ที่ผู้คนสามารถเข้าไปอยู่ในโลกดิจิตอลที่เรียกว่าโอเอซิสได้ ที่นั่นเราสามารถไปที่ใดก็ได้ ทำอะไรก็ได้ เป็นใครหรือเป็นอะไรก็ได้แล้วแต่จะเลือก โดยมีการรุมเร้าจากเรื่องการว่างงาน ความยากจน ความแออัด และความสิ้นหวังขั้นขีดสุด “ถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะต่อการหนีเข้าสู่โลกเสมือนจริงที่เราสามารถใช้ชีวิตแบบไม่ธรรมดาในอีกร่างของเราได้” สปีลเบิร์กกล่าว “สิ่งเดียวที่ต้องใช้คือจินตนาการ และมันจะพาเราไปได้ไกลแสนไกลในโอเอซิส แต่เมื่อเราหนีจากความเป็นจริงแล้ว อีกแง่หนึ่งเราก็ทิ้งปฏิสัมพันธ์ของเรากับผู้คนในโลกแห่งความจริงด้วย เรื่องราวมีความน่าสนใจ แต่ก็มีการวิพากษ์วิจารณ์ในวงสังคมอยู่บ้าง”

 

 

ผู้อำนวยการสร้างฯ คริสตี้ มาคอสโก ครีเกอร์ เคยร่วมงานเคียงข้างกับสปีลเบิร์กกว่า 20 ปีได้กล่าวเสริมว่า “ความพิเศษของหนังเรื่องนี้อยู่ในฉากแอคชั่นทั้งหมด ความน่าสนใจเด่นๆ อยู่ที่ประเด็นทั้งเรื่องจังหวะเวลาที่พอเหมาะกับเวลาที่ไร้ขีดจำกัด เป็นเรื่องราวที่ถ่ายทอดการให้ความสำคัญเรื่องมิตรภาพความสัมพันธ์ การค้นพบความรักครั้งแรก การยอมรับทั้งตัวเองและผู้อื่น เป็นหนังไซไฟสุดยิ่งใหญ่ที่เต็มไปด้วยความรู้สึกในแบบฉบับของสปีลเบิร์ก”

 

ไคลน์เปิดเผยว่าแรงบันดาลใจของเรื่องราวมาจากเหตุการณ์สำคัญช่วงวัยเด็ก “ไอเดียตอนแรกมาจากเกมอาตาริที่ชื่อ  Adventure ซึ่งเป็นวีดีโอเกมแรกๆ ที่มีไข่อีสเตอร์อยู่ในเกม โดยเกมนี้ออกแบบโดยวอร์เรน โรบิเน็ตต์ เขาได้สร้างห้องลับไว้ในเกมที่มีชื่อของเขาอยู่ด้านใน นั่นเป็นครั้งแรกที่ผมพบบางสิ่งอยู่ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้สร้างโลกใบนั้นได้ทำขึ้นมา เป็นประสบการณ์สุดล้ำที่ฝังใจผมมาก ผมเป็นแฟนพันธุ์แท้ผลงานของโรลด์ ดาห์ล โดยเฉพาะหนังสือ Willy Wonka แล้ววันหนึ่งผมก็เกิดไอเดียขึ้นมาว่า ถ้าวิลลี่ วอนก้าเป็นผู้ออกแบบวีดีโอเกมแทนผู้ผลิตลูกอมล่ะ? ผมเริ่มคิดถึงปัญหาและปริศนาทั้งหมดที่เศรษฐีไม่ธรรดาคนนี้ทิ้งเอาไว้ เพื่อตามหาผู้ที่เหมาะสมต่อการสืบทอดตำแหน่ง และผมรู้ว่าตัวเองกำลังเจออะไรบางอย่าง”

 

 

ตัวละครเศรษฐีผู้ไม่ธรรมดาของไคลน์นั้นได้ตกเป็นของเจมส์ ฮัลลิเดย์ผู้ร่วมสร้างโอเอซิสที่โดดเดี่ยวรับบทโดย มาร์ค ไรแลนซ์ “โลกทั้งใบอยู่ในความฝันของเขา ความฝันที่เขาสร้างโลกทั้งใบขึ้นมา” สปีลเบิร์กกล่าว “แต่พอเขาเสียชีวิตลง เขาไม่มีทายาท เขาเลยฝากการแข่งขันทิ้งเอาไว้ว่า คนแรกที่เอาชนะการแข่งขันทั้ง 3 ด่าน แต่ละด่านจะมีกุญแจเป็นรางวัล จากนั้นหาไข่ที่ซ่อนอยู่ที่ใดสักแห่งในโอเอซิสพบ ผู้นั้นจะได้รับสืบทอดมรดกทั้งหมด”

 

ตอนมีชีวิตฮัลลิเดย์ได้มอบวิธีหลบหนีจากโลกแห่งความจริงให้ผู้คน เมื่อเขาตายไปแล้วเขาได้มอบอนาคตที่มีความหวังให้พวกเขา.. ในเกมที่อยู่ในเกม ซึ่งมีรางวัลเป็นสมบัติอันมหาศาลและสิทธิในการครอบครองโอเอซิสอย่างเต็มที่

 

 

สปีลเบิร์กเล่าว่า  “อย่างที่เราพอจะนึกภาพออก ทุกคนพยายามหาว่าไข่อีสเตอร์ของฮัลลิเดย์อยู่ที่ไหน รวมถึงฮีโร่หนุ่มม้ามืดของเราอย่างเวด วัตตส์” 

 

ชัยชนะอาจเป็นการพลิกเกมครั้งยิ่งใหญ่ และเวดก็ยอมสละเวลาทุกชั่วโมงที่ตื่นอยู่เพื่อไขปริศนา ขณะที่มีการตะโกนปลุกระดมว่า “เจอกุญแจคนแรก เจอไข่คนแรก” แต่อย่างไรก็ตามภารกิจกลับมีอะไรมากกว่าการล่าสมบัติ เมื่อเขาและเพื่อนๆ ที่รวมตัวกันในชื่อเดอะ ไฮไฟว์ ได้พบว่ามันมีอะไรสำคัญมากกว่าเงินรางวัลในการเดิมพัน

 

ไท เชอริแดน ผู้รับบท เวด วัตตส์ เล่าว่า “บริษัทยักษ์ใหญ่ Innovative Online Industries หรือไอโอไอพยายามจะเข้าครองโอเอซิส เพื่อที่จะได้ควบคุมทุกสิ่งทุกอย่าง ตัวละครทั้ง 5 ของเราที่เรียกว่า ‘กันเตอร์ส’ ผู้อยู่ในการไล่ล่าไข่ล้วนเป็นผู้ที่ตกเป็นเบี้ยล่าง เราจะเชียร์พวกเขาเพราะพวกเขาอยู่ที่นั่นเพื่อเหตุผลแห่งความชอบธรรม พวกเขาอยากชนะการแข่งขันเพื่อปกป้องโอเอซิส”

 

 

กระแสที่พูดถึงหนังสือ Ready Player One อยู่ในขั้นที่โด่งดังมากเมื่อมีการตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อเดือนสิงหาคม 2011 ซึ่งไม่ใช่แค่เป็นไปตามคาดหมายว่าจะได้รับความนิยมอย่างตื่นเต้นเท่านั้น เพราะความนิยมได้พุ่งไปสู่การขึ้นเป็นหนังสือขายดีอันดับ 1 ของ  New York Times ที่มีการตีพิมพ์มากกว่า 50 ประเทศ อย่างไรก็ตามก่อนมีการวางจำหน่าย ภาพยนตร์ได้อยู่ในแผนตามขั้นตอนไปแล้ว

 

ผู้อำนวยการสร้างฯ โดนัลด์ เดอ ไลน์ เล่าว่า “ผมอ่านหนังสือมานานกว่า 1 ปีก่อนที่จะมีการตีพิมพ์ และคิดว่ามันยอดเยี่ยมมากครับ ผมเชื่อว่าเรื่องราวจะเรียกความสนใจให้ผู้คนจำนวนมากกได้ด้วยเหตุผลที่ต่างไป เช่น ทุกคนสามารถค้นพบบางสิ่งที่อยู่บนโลกที่พวกเขาสามารถเข้าถงึงได้ เราไม่จำเป็นต้องเป็นเกมเมอร์เพราะเราสามารถเข้าใจมุมมองแบบมนุษย์ได้ และเส้นทางที่เวด วัตตส์ เลือกเดินเพื่อกลายเป็นฮีโร่ของเรื่อง จากนั้นจึงมีการผจญภัยสุดมหัศจรรย์และมีการอิงถึงทุกกระแสที่นิยม”

 

 แทบจะทุกการอ้างอิงล้วนมีเวลาพัฒนาเป็นทศวรรษ ซึ่งปีที่ไคลน์รู้สึกว่าเกี่ยวข้องอย่างชัดเจนคือปี 1980 เขาอธิบายว่า “ฮัลลิเดย์ได้สร้างเกมขึ้นมาท่ามกลางสิ่งที่เขารัก และทำให้ผมตื่นเต้นเพราะผมรู้สึกว่าความหลงใหลของเขาสะท้อนถึงตัวผมเอง ช่วงยุค 80 เป็นช่วงเวลาแห่งการเติบโตของชีวิตผม เพราะนั่นเป็นช่วงทศวรรษที่ผมเป็นวัยรุ่น  และเป็นช่วงที่ผมมีวีดีโอเกมคอนโซลเครื่องแรก มีคอมพิวเตอร์ที่บ้านเครื่องแรก นั่นเป็นช่วงที่เริ่มมีอินเตอร์เนตเข้ามา

 

 

 “ผมสงสัยว่าบางทีหนังสืออาจได้รับความสนใจจากคนรุ่นเดียวกับผมที่คิดถึงปี 80 เท่านั้นหรือเปล่า” ไคลน์เล่าต่อว่า   “แต่มันไม่ใช่แบบนั้น เพราะมันถ่ายทอดถึงการใช้ชีวิตของเราตอนนี้ คนส่วนใหญ่มีบุคลิกจริงกับบุคลิกเสมือนในแบบประวัติของเราในโซเชียลมีเดีย ไม่ต่างจากการอวาคารในเรื่องเลยครับ เราทำให้มันเป็นรูปร่างได้ขึ้นอยู่กับว่าเราอยากให้คนอื่นเห็นเรายังไง”

 

ผู้อำนวยการสร้างฯ แดน ฟาราห์ ที่ร่วมงานกับไคลน์มาอย่างยาวนานและเป็นคนแรกที่ได้รับความไว้ใจจากเขาเรื่องหนังสือได้เล่าเสริมว่า “ผมโชคดีที่มีเออร์นี่มาร่วมแชร์การร่างหนังสือช่วงแรกๆ กับผม ตั้งแต่แรกผมเห็นภาพเลยว่าเรื่องราวจะมีความหมายในเชิงศิลปะยังไง และเมื่อเวลาผ่านไปเหมือนเราก็ยิ่งตัดขาดจากการมีปฏิสัมพันธ์โดยส่วนตัวกนับนโลกแห่งความจริง เราส่งข้อความหากัน โพสต์หากัน ติดต่อกัน พูดคุยกันผ่านโซเชียลมีเดีย Ready Player One จึงสื่อให้เห็นภาพของสังคมที่น่าจะเป็นหากเรายังคงทำอะไรแบบนั้น มันเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นมาแต่ไม่รู้สึกเลยว่าไกลเกินเอื้อม มันเล่าให้เห็นภาพว่าอนาคตของเราน่าจะมีหน้าตาแบบไหน”

 

ผู้เขียนบทฯ แซ็ค เพ็นน์ เปิดเผยว่าด้ยความบังเอิญที่เขาสนิทกับไคลน์มาแล้วจากโปรเจ็กต์อื่นที่เกี่ยวกับเกม เพ็นน์เล่าว่า “ผมเคยทำงานในภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับขาลงของอาตาริ และมีคนหนึ่งที่ผมได้รับการเชิญให้ร่วมงานด้วยคือเออร์นี่ ไคลน์ เราเลยได้เจอกันและกลายเป็นเพื่อนกันก่อนที่จะมีการจับปากกาเขียนอะไรอย่างที่พวกเขาพูดกันนั่นแหละ”

 

 

ไคลน์เล่าว่า “ตอนที่แซ็คมาร่วมงานด้วย เขาเขียนบทร่างที่น่าทึ่งออกมา ซึ่งถ่ายทอดอารมณ์นิยายของผมและทำให้เรื่องราวมีความเป็นภาพยนตร์มากขึ้นด้วย เขาเอาใจใส่พอที่จะให้คำปรึกษาร่วมกับผมในทุกสิ่งที่เขาปรับเปลี่ยน เป็นเพราะบทร่างของเขาที่ทำให้สตีเฟนเกิดความสนใจมากพอที่จะอ่านหนังสือของผม เป็นขั้นตอนการทำงานที่วิเศษมากครับ ผมรู้สึกดีใจมากที่แซ็คมารับบทบาทสำคัญในการนำ Ready Player One สู่จอภาพยนตร์”

 

เมื่อบทฉบับร่างมาถึงมือก็ถึงเวลาที่ต้องหาใครสักคนมาทำหน้าที่ควบุม เดอ ไลน์ เล่าว่า “เรารู้ว่าเราต้องการคนที่ถ่ายทอดเรื่องราวออกมาอย่างอัจฉริยะทั้งภาพและเรื่อง และตัวผู้กำกับฯ ที่สามารถรับมือกับเทคโนโลยีทุกอย่างได้แบบสตีเว่น สปีลเบิร์ก ซึ่งแน่นอนว่าเขาคืออันดับ 1 ในรายชื่อของเราเสมอ แต่ในความเป็นจริงแล้วมีโอกาสที่เราจะได้เขามาร่วมงานขนาดไหน?  แต่ก็เป็นเรื่องที่ดีที่มีความฝัน” เขายิ้ม “ผมเลยตอบว่า ‘แน่นอน ส่งให้สปีลเบิร์กแล้วกัน’  เขาอ่านบททันทีและก็รักมัน”

 

สปีลเบิร์กยืนยันว่า “พวกเขาส่งหนังสือมาให้ผมรวมถึงบทภาพยนตร์ที่ผมอ่านอย่างแรกเลย ผมรู้สึกหลงใหลในไอเดียที่มีการเทียบเคียงกันระหว่างโลก 2 ใบ จากนั้นผมได้อ่านหนังสือและมันก็ทำให้ผมหัวหมุนมาก เพราะมีความลึกซึ้งและรายละเอียดเยอะมาก เป็นเรื่องที่ยากจะเข้าใจ มีความน่ากลัว สามารถเข้าถึงมันได้...  ผมติดงอมแงม!”

 

 

ทั้งไคลน์และฟาราห์ต่างแชร์ความเห็นว่าการมีสปีลเบิร์กมากำกับภาพยนตร์เหมือนกับเรื่อง “ยิ่งกว่าฝันที่เป็นจริง”  ฟาราห์เล่าอีกว่า “เวลาเราอยู่ในฉากกับสตีเว่น เราเลี่ยงที่จะอดคิดถึงบ้านไม่ได้เลย แต่ต้องรับความจริงว่าเราต้องจดจำและโหยหาช่วงเวลาเหล่านั้นไปอีกตลอดชีวิต”

 

ไคลน์เล่าเสริมว่า “แม้แต่ตอนนี้มันก็เหมือนความฝันของผม... ผมยังรู้สึกกลัวอยู่เลยครับ”

 

ทีมนักแสดงแชร์ความรู้สึกร่วมกัน ลีน่า เวธ ผู้รับบท เอช เพื่อนสนิทของเวดยืนยันว่า “สตีเว่น สปีลเบิร์กได้ให้นิยามของภาพยนตร์สำหรับคนรุ่นฉัน และได้เปลี่ยนแปลงค่านิยมของเราไป ฉันคิดว่าถ้ามีใครเอาหนังทุกเรื่องของเขาใส่ไทม์แคปซูล พวกเขาจะสัมผัสความรู้สึกได้ว่าโลกของเรามีการเจริญเติบโตและพัฒนาขนาดไหน ฉะนั้นการได้เป็นส่วนหนึ่งในตำนานของเขาถือเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับฉันและพวกเราทุกคนเลยค่ะ”

 

 

 ในการนำนิยายมาสู่จอภาพยนตร์ เป็นเรื่องสำคัญมากที่ผู้สร้างภาพยนตร์จะต้องเคารพในแหล่งข้อมูล รวมถึงแฟนๆ ของผลงานนั้นด้วย “แต่” สปีลเบิร์กยอมรับว่า “หนังสือทุกเล่มต้องผ่านขั้นตอนการดัดแปลงเมื่อผลงานนั้นต้องกลายมาเป็นภาพยนตร์ ผมคิดว่าเราได้ข้อสรุปพร้อมองงค์ประกอบที่เหมาะสมสำหรัการถ่ายทอดเรื่องราวสุดวิเศษแล้ว”

 

 “เราต้องผสมผสานหลายสิ่งและย้ายสิงต่างๆ ที่อยู่รอบภาพยนตร์ แต่ยังคงคามรู้สึกของเรื่องราวต้นฉบับเอาไว้” ไคลน์กล่าวด้วยความมั่นใจ “เวลาแฟนๆ หนังสือถามผมเรื่องนี้ ผมแค่ตอบไปว่าไม่ต้องกังวลหรอก ผมไม่เคยกังวลเลยตั้งแต่วันที่สตีเว่น สปีลเบิร์กเซนต์ชื่อสร้างหนังแล้ว”

 

การเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งเกี่ยวข้องกับตัวผู้กำกับฯ เอง เขาอธิบายว่า “ในหนังสือมีหลายอย่างที่อิงมาจากหนังของผมเอง ในฐานะผู้กำกับฯ และผู้สร้งฯ จากยุค 80 แต่ผมไม่อยากให้หนังมีความสะท้อนตัวเองจากยุคนั้น เราทิ้งการอ้างอิงบางส่วนออกไป แต่เน้นหลักๆ ไปที่ความน่าประทับใจในความงดงามที่ผู้สร้างฯ ศิลปิน ผู้ออกแบบแฟชั่น และนักดนตรีจากยุคนั้นได้สร้างเอาไว้”

 

 

แม้ว่าจะเป็นฉากที่โคลัมบัส โอไฮโอ ภาพยนตร์เรื่อง “Ready Player One” ได้มีการถ่ายทำที่ประเทศอังกฤษ พร้อมด้วยภาพในส่วนสำคัญที่ได้จาก Warner Bros. Studios Leavesden

 

 การถ่ายทำต้องอาศัยเทคโนโลยีการสร้างภาพยนตร์ ซึ่งสปีลเบิร์กได้ร่วมงานกับผู้ชำนาญด้านวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์แห่ง  ILM และ Digital Domain รวมถึงคนอื่นๆ เพื่อนำผู้ชมเข้าสู่โลกสุดมหัศจรรย์ของโอเอซิส สร้างความแตกต่างระหว่างโอเอซิสกับโลกแห่งความจริงให้มีความโดดเด่นมากขึ้น สปีลเบิร์กถ่ายทำฉากต่างๆ ในภายหลัง ขณะที่ฉากในโลกเสมือนจริงมีการถ่ายทำด้วยเทคนิคดิจิตอล

 

 “รายละเอียดที่เราต้องสร้างเพื่อใส่เข้าไปในโอเอซิสบนจอภาพยนตร์ ทำให้มันกลายเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากเท่าที่ผมเคยทำมา” ผู้สร้างภาพยนตร์ที่มากประสบการณ์กล่าว  “มันมีทั้งโมชั่นแคปเจอร์ ไลฟ์แอคชั่น คอมพิวเตอร์แอนิเมชั่น... มันเหมือนเราสร้างหนัง 4 เรื่องในเวลาเดียวกันเลย”

 

 

สปีลเบิร์กถึงขั้นใช้เครื่องมือเวอร์ชวลเรียลลิตี้ในปัจจุบัน เพื่อการกำกับฉากโลกแห่งอนาคตเสมือนจริงของโอเอซิส มาคอสโก ครีเกอร์ เล่ารายละเอียดว่า “การแว่นวีอาร์ทำให้เขาได้ก้าวไปฉากดิจิตอลจริงๆ ได้เห็นบรรยากาศรอบตัวแบบ 360 องศา ได้คิดเรื่องมุมกล้อง ได้คิดว่าเขาจะถ่ายทำมันยังไง นี่เป็นครั้งแรกของพวกเรา สำหรับสตีเฟนมันเหมือนการเปิดโอกาสความเป็นไปได้หลายด้าน แต่มันเป็นการทำงานที่ยาก ผมดีใจมากที่หนังเรื่องนี้อยู่ในการควบคุมของเขา”

 

แม้ว่าจะมีความก้าวหน้าแต่สปีลเบิร์กก็พูดเน้นย้ำว่า “ผมไม่เคยใช้เทคโนโลยีสร้างหนัง ผมแค่ใช้มันเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวให้ดีขึ้น เทคโนโลยีช่วยให้หนังแนวนี้ดูสมจริง แต่จากนั้นมันควรหายไปเพื่อให้ทุกคนโฟกัสไปที่เรื่องราวและตัวละคร”

 

Ready Player One 29 มีนาคมนี้ ในโรงภาพยนตร์

www.readyplayeronemovie.net

https://www.facebook.com/ReadyPlayerOneMovieThailand

 

สงครามเกมคนอัจฉริยะ

  • 28 January 2021
  • Adventure / แอ็คชัน / ผจญภัย / วิทยาศาสตร์ /
  • 140 นาที
15+