HIGHLIGHT CONTENT

เจาะลึกการสร้างหุ่นเทอร์มิเนเตอร์ 2015 เทคโนโลยีทำให้มันง่ายขึ้น

  • 23,739
  • 03 ก.ค. 2015

เจาะลึกการสร้างหุ่นเทอร์มิเนเตอร์ 2015
เทคโนโลยีทำให้มันง่ายขึ้น

 

 

Terminator ถือเป็นหนังแอ็คชั่นที่ใช้เทคนิคหุ่นผสานกับ CG ทำออกมาได้อย่างยอดเยี่ยมในหลายภาค ซึ่งใน Terminator Genisys มีหลายต่อหลายฉาก ฉากแอ็กชั่นเรียกร้องสิ่งที่เกินกว่ามนุษย์จะทำได้ แม้แต่กับซูเปอร์สตาร์นักบู๊ที่เคยเป็นอดีตนักเพาะกายมาก็ตาม สำหรับฉากพิเศษเหล่านี้ ทางทีมงานเรียกใช้บริการของ เจสัน แมทธิวส์ จากบริษัท เลกาซี่ เอฟเฟ็กต์ส (บริษัทที่ สแตน วินสตัน เป็นผู้ก่อตั้ง โดยเขาเป็นศิลปินผู้บุกเบิกงานเอฟเฟ็กต์ และเคยสร้างสรรค์ผลงานให้กับภาพยนตร์แฟรนไชส์ Terminator ด้วย) เพื่อให้เข้ามาสร้างหุ่นจำลองของชวาร์เซเนกเกอร์ที่ทำจากซิลิโคน จากฉากปี 1984 ที่ยังมีเกราะเหล็ก และข้อต่อต่างๆ

โดยพวกเขาใช้ภาพจากภาพยนตร์ภาคแรก หุ่นจำลองนี้ถูกใช้เมื่ออาจมีอันตรายเกิดขึ้นได้ถ้าใช้นักแสดงจริงๆ และในฉากที่อาร์โนลด์ในช่วงสูงวัยขึ้นได้พบกับตัวเองในวัยหนุ่มในปี 1984  (มีการสร้างหุ่นจำลอง “สตั๊นต์” แต่เป็นการใช้วัสดุโฟมที่มีความอ่อนนุ่มมากขึ้น เพื่อใช้ในสถานการณ์ที่มีอันตรายมากขึ้น)   

 

 

ไมก์ แมนเซล จากเลกาซี่ เอฟเฟ็กต์ส และศิลปินคนอื่นๆ  ยังต้องสร้างโครงเหล็กของหุ่น T-800 (หุ่นเทอร์มิเนเตอร์รุ่นบุกเบิก) ขึ้นมาหลายเวอร์ชั่น เทคนิคในการลงสี และสารประกอบต่างๆ (อีพ็อกซี่,เรซิน) ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างโครงเหล็กที่มีน้ำหนักน้อยลง และเอฟเฟ็กต์การทำผิวหนังของหุ่น T-800 ในปี 1984 โครงหุ่นเหล็ก “ฮีโร่” ต้องใช้ศิลปินถึง 15 คนใช้เวลานานกว่าหนึ่งเดือน เพื่อสร้างชิ้นส่วนต่างๆ มากกว่า 260 ชิ้น ทั้งหมดเป็นการปั้นและทำด้วยมือ

สำหรับในปี 2015 ต้องขอบคุณความก้าวหน้าของปริ๊นเตอร์ 3D หุ่นจำลองสามารถถูกสร้างขึ้นมาได้ แทนที่จะใช้มือปั้น แต่ละชิ้นส่วนจะถูกพิมพ์ออกมาจากปริ๊นเตอร์ 3D (หลายต่อหลายชิ้นต้องใช้เวลาในการพิมพ์นานถึง 48 ชั่วโมง) จากจุดนั้น พวกมันจะถูกทำพิมพ์ ปั้น และตกแต่งจนกลายเป็นผลงานชิ้นสำเร็จ “อย่างไรก็ดี” แมนเซลบอก “ในความเป็นจริง ผมยังคงคิดว่ามันน่าจะเหมาะกว่าที่จะสร้างออกมาให้เหมือนกับที่พวกเขาเคยทำในยุคสมัยนั้น ก็แค่เป็นการใช้เครื่องมือแบบใหม่เพื่อจะผลิตผลงานสุดท้าย” 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง