HIGHLIGHT CONTENT

งานโคตรละเอียด!! Kubo and the Two Strings อนิเมชั่นที่ถ่ายทำ 3.31 วินาทีต่อสัปดาห์

  • 35,874
  • 05 ก.ย. 2016

งานโคตรละเอียด!! Kubo and the Two Strings
อนิเมชั่นที่ถ่ายทำ 3.31 วินาทีต่อสัปดาห์  

 


 

สต็อปโมชั่นเริ่มต้นในฐานะเป็นเทคนิคพิเศษในยุคเริ่มต้นของภาพยนตร์เมื่อกว่า 100 ปีมาแล้ว  ไลก้าพารูปแบบศิลปะที่ยืนนานนี้มาสู่ศตวรรษที่ 21 อย่างก้าวกระโดด ด้วยการคิดค้นระบบใหม่ๆ ปรับใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่จากอุตสาหกรรมอื่นๆ และผสมผสานงานของฝ่ายเทคนิคพิเศษด้านภาพเข้ากับทุกช็อตของหนัง   มันเป็นสิ่งที่ไลก้าเรียกว่ารูปแบบ “ลูกผสม” ของการทำภาพยนตร์แอนิเมชั่น แม้สต็อปโมชั่นจะยังคงเป็นหัวใจ สิ่งที่ไลก้าทำไม่สามารถนิยามด้วยคำคำเดียวนั้นอีกต่อไป 

 
สต็อปโมชั่นเป็นการฝึกระเบียบวินัยอย่างหนึ่งที่มีมานาน   ในขั้นตอนการผลิต แอนิเมเตอร์จะจับให้วัตถุที่จับต้องได้ (เช่น ตัวละคร อุปกรณ์ประกอบฉาก ฉาก ฯลฯ) ขยับทีละภาพๆ อย่างละเอียดและอุตสาหะพยายาม (ในภาพยนตร์จะมี 24 ภาพต่อวินาที)   แต่ละภาพจะถูกถ่ายด้วยกล้องถ่ายภาพยนตร์ สองครั้ง-ถ้าเป็นกล้อง 3 มิติแบบในหนังที่ไลก้าทำ   เมื่อภาพที่ถูกถ่ายจำนวนหลายพันภาพถูกนำมาตัดต่อและฉายติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง ตัวละครและสภาพแวดล้อมในหนังจะมีชีวิตขึ้นมา   ความมหัศจรรย์ของภาพยนตร์ถูกสร้างขึ้นด้วยมือ 

 

 

 
แม็คลีนพูดถึงการเปลี่ยนการแสดงความรู้สึกทางสีหน้าของหุ่น ว่าการเปลี่ยนหน้าจากภาพหนึ่งไปภาพถัดไปสามารถเปลี่ยนเป็นขนาดเท่าใดก็ได้ ใหญ่มาก หรือเล็กกว่าความกว้างของเส้นผมคนก็ทำได้   แต่ก็ยังต้องใช้ใบหน้าที่พิมพ์ใหม่ทั้งหมดเพื่อใส่เข้าไปในหุ่น  เช่น ใบหน้าของคูโบ้มีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้งตลอดเรื่องราวของหนัง ทั้งแบบใบหน้าสะอาด ใบหน้าที่มีหิมะ หน้าเปียก หน้าตกใจกลัว และทั้งเปื้อนฝุ่นและไม่มีฝุ่น  ห้องสมุดที่สร้างสำหรับตัวละครตัวนี้ มีปากที่แสดงความรู้สึกในแบบของเขาเอง 11,007 ปาก และหน้าผากที่แสดงความรู้สึกในแบบของเขา 4,429 อัน  มีใบหน้าที่พิมพ์ออกมาทั้งหมด 23,187 ใบหน้า   ซึ่งนั่นหมายความว่ามีใบหน้าที่แสดงความรู้สึกแบบต่างๆได้สำหรับเขามากกว่า 48 ล้านใบหน้า

หุ่นทุกตัวของไลก้าที่ทำโดยทีมของเฮนส์จะถูกใส่โครงข้างในหรือที่เรียกกันว่า “กระดูก” ที่ทำให้หุ่นสามารถเคลื่อนไหวได้ทีละภาพๆ เฮนส์พูดถึงการทำหุ่นด้วงของเธอว่า “เขาเป็นกึ่งด้วงกึ่งซามูไร ดังนั้นเราต้องทำปีกและเสื้อเกราะ  เราทำปีกด้วงตามหน้าตาของปีกด้วงจริงๆ งานพิมพ์จากแม่พิมพ์ไม้ของคิโยชิ ไซโตะช่วยเราอย่างมากในการทำพื้นผิวทั้งหมดของตัวด้วงที่ทำเสร็จแล้ว  การหาข้อมูลเกี่ยวกับเสื้อผ้าและเครื่องหมายบอกตำแหน่งของซามูไรจริงๆช่วยให้เรารู้ว่าจะขยับตัวหุ่นยังไง และจะสร้างเขาออกมายังไง”   

 

 

แบรด ชิฟฟ์เป็นผู้รับผิดชอบในการมอบหมายงานให้แอนิเมเตอร์ ซึ่งปรับเปลี่ยนไปตามแต่ละโปรเจ็คต์ ในที่สุด แอนิเมเตอร์ 31 คนได้รับมอบหมายให้ทำ Kubo and the Two Strings 29 คนจากทีมของชิฟฟ์ รวมกับตัวเขาและทราวิส ไนท์เอง แอนิเมเตอร์หนึ่งคนของไลก้าถ่ายทำได้เสร็จเฉลี่ย 3.31 วินาทีต่อสัปดาห์  หรือ 15.9  ภาพต่อวัน

ผู้กำกับภาพแฟรงค์ พาสซิงแฮม และทีมออกแบบแสงและถ่ายภาพของเขา ถ่าย “ภาพดิบ” ด้วยกล้องดิจิตอลมากถึงเกือบ 5,000 ภาพ   จากนั้นไฟล์ภาพจะถูกส่งไปที่แผนกเทคนิคพิเศษด้านภาพสำหรับการทำออกมาให้เหลือ 2,000 ภาพ   พาสซิงแฮมใช้เลนส์ของ Nikon โดยใช้เลนส์ 55 มม.มากกว่าแบบอื่นๆ และกว่า 84 สัปดาห์ของการถ่ายทำ มีภาพทั้งหมด 1,345 ช็อต   เขาบอกว่า “Lawrence of Arabia (1962) คือหนังของเดวิด ลีนที่ผมชอบที่สุดตลอดกาล  ตอนที่ทราวิสบอกว่าเขาอยากให้หนังเรื่องนี้เหมือนหนังของเดวิด ลีน ผมกลั้นหายใจเลย”

 

 

“นี่เป็นหนังที่มีการประดิษฐ์มาก ถึงแม้เราจะใช้สไตล์การจัดแสงที่เป็นธรรมชาติของไลก้า   การใส่แสงธรรมชาติเข้ามาในหลายฉากกลายเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะหนังของเรามีความมหัศจรรย์เยอะมาก เราอยากให้คนดูสนุกกับมัน แต่ก็ยังรู้สึกอิงอยู่กับความเป็นจริง   การใส่แสงที่เหมือนพระอาทิตย์หรือพระจันทร์ และเติมแสงที่ใส่เข้ามาในฉากเพื่อสะท้อนก้อนเมฆที่กำลังลอยผ่าน หรือพระอาทิตย์กำลังเคลื่อน กลายเป็นวิธีของเราในการทำให้อุณหภูมิของความเป็นดราม่าสูงขึ้นในฉากนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งฉากแอ็คชั่นหรือฉากการต่อสู้   ในฉากที่ไม่ค่อยมีการพูดคุยกันระหว่างคูโบ้ ด้วง และลิง เรามักจะใช้แสงนุ่มๆจากกองไฟที่เป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบฉาก”

 

คูโบ้และพิณมหัศจรรย์

  • 17 February 2017
  • Adventure / แอนิเมชัน /
  • 101 นาที
15+

ข่าวที่เกี่ยวข้อง