HIGHLIGHT CONTENT

อย่าเผลอหลับตอนมันอยู่! ปีศาจร้าย มาร มาร่า คืออะไร และมีที่มาอย่างไร?

  • 2,821
  • 21 ก.ย. 2018

 

อย่าเผลอหลับตอนมันอยู่! ปีศาจร้าย มาร มาร่า คืออะไร และมีที่มาอย่างไร?

 

ไคล์ฟ ตองเก้ ติดใจกับคำว่า “ไหลตาย” (SUND -  Sudden Unexpected Death Syndrome) อาการของคนที่ตายโดยกระทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ดังนั้น เขาจึงคิดที่จะผูกเรื่องราวเข้าเอาไว้ด้วยกัน เมื่อเขาลองค้นคว้าเหตุการณ์ก็พบกับความน่าเหลือเชื่อ จากเรื่องที่เกิดขึ้นจริงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องชาวม้งที่ลี้ภัยไปที่สหรัฐอเมริกา เมื่อปี 1977 ที่ทั้งหมดตายกะทันหันในขณะที่หลับ และอีกครั้งเกิดที่สิงคโปร์ เมื่อคนไทย 230 ชีวิต ในระหว่างปี 1982 ถึงปี 1990 ได้มีรายงานการเสียชีวิตจากการไหลตาย นอกจากนั้นยังเกิดขึ้นที่ฟิลิปปินส์และอีกหลายประเทศทั่วโลก โดยสาเหตุการตาย ตามความเชื่อของคนโบราณที่พวกเขาได้สัมผัสกับวิญญาณ แน่นอนว่าเรื่องแบบนี้ทำให้ ตองเก้ ถึงกับอึ้ง เพราะการที่เขาคิดเล่นๆ ว่าการโดนผีอำจะสามารถนำไปสู่การไหลตายได้  แต่ปรากฏว่ามันอาจเคยเกิดขึ้นจริงๆ แล้ว แล้วอะไรคือสิ่งที่ทำให้คนพวกนั้นตายกันแน่

 

ไคล์ฟ ตองเก้ พูดถึงภาพยนตร์สยองขวัญที่เขาชอบมากที่สุดเรื่องหนึ่งนั่นก็คือภาพยนตร์เรื่อง The Ring ในฉบับฮอลลีวูด เขายอมรับว่าเขาไม่ได้เป็นแฟนจากหนังต้นฉบับญี่ปุ่น (Ringu) แต่เขากลับชอบเรื่องราวของการไล่ล่าตามหาข้อเท็จจริงแข่งกับเวลาที่จะสามารถปลดปล่อยเธอและลูกออกจากคำสาปได้ “ผมคิดว่ามันคือหนังระทึกขวัญที่มีส่วนผสมของหนังสืบสวนสอบสวนมันเลยทำให้หนังน่าสนใจและน่าติดตามตั้งแต่ต้นเรื่องจนจบเรื่อง ถ้าคุณมัวแต่เล่าเรื่องสยองขวัญน่ากลัวด้านเดียว ผมคงเบื่อมันมาก แต่นี่มันคือความสดใหม่ของหนังระทึกขวัญ เมื่อผมมีโอกาสได้ทำหนังผมจึงจะพยายามเอาข้อดีเหล่านั้นมาใส่ในหนังของตัวเอง”

 

 

แต่ก่อนที่เขาจะได้สิ่งที่เขาต้องการ เขาจำเป็นต้องหาคนเขียนบทที่เขาวางใจ นั่นก็คือ โจนาธาน แฟรงค์ ที่เคยมีผลงานอย่าง  The Tournament  ที่มีนักแสดงอย่าง โรเบิร์ต คาร์ไล และ วิง เรมส์ นำแสดง ทั้งสองเคยรู้จักกันมาก่อนแต่ไม่ได้สนิทกันนัก ตองเก้ ไม่ใช่ผู้กำกับที่ถนัดงานด้านการเขียนบท เขามีแค่ไอเดียคร่าวๆ กับเรื่องราวที่เขาอยากจะเล่า เขาจึงหาคนที่สามารถจะถ่ายทอดสิ่งที่เขาคิดออกมาเป็นบทภาพยนตร์ได้ ทั้งคู่เริ่มทำงานร่วมกันได้อย่างดี ตองเก้ รับหน้าที่การค้นหาข้อมูลอ้างอิง ส่วน โจนาธาน เป็นคนนำไอเดียเหล่านั้นมาสร้างสถานการณ์

 

หลังการพูดคุยทำความรู้จักกันเป็นอย่างดีแล้ว เขาสังเกตว่าสิ่งที่ไคล์ฟชอบนั้นเป็นอย่างไร เขาเลยพยายามเขียนบทเรื่องนี้ให้เป็นไปในแนวทางที่ ไคล์ฟ ชอบ ดังนั้นหนังจึงมีการพยายามเอาชนะคำสาปก่อนที่มันจะสายเกินไป ตัวเอกของเรื่องเป็นผู้หญิงที่เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา อีกทั้งยังมีความสามารถในการสืบคดี ช่างสังเกต คดีสุดหินที่เธอได้รับเกี่ยวกับโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นภายในบ้านหลังหนึ่ง ครอบครัวนั้นผู้เป็นพ่อได้เสียชีวิตไปอย่างประหลาด ผู้เป็นแม่คือผู้ต้องสงสัยอันดับต้น และ เด็กสาวผู้เห็นเหตุการณ์ทั้งหมด ด้วยความที่เธอเป็นจิตแพทย์เธอจึงต้องพูดจาหว่านล้อมเพื่อที่จะให้เด็กสาวพูดว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่ โดยสัญญาว่าถ้าเธอเล่าทุกสิ่งแล้ว แม่ของเธอจะไม่ต้องตกเป็นผู้ต้องหา และนั่นอาจจะเป็นคำสัญญาลวงที่ส่งผลในอนาคต

 

“จากการค้นคว้าวิจัยมาหลายแห่งเรามักจะค้นไปเจอกับคำว่า มาร่า (Mara) ในหลากหลายวัฒนธรรมทั่วโลก” ตองเก้ กล่าว คำว่า Mara ได้กลายเป็นคำที่ใช้ในหลากหลายประเทศทั่วโลก แต่การสะกด การออกเสียงจะต่างออกไปบ้าง Mara ที่ภาพยนตร์เรื่องนี้นำมาใช้เป็นคำที่เรายกมาจากนิยายพื้นบ้านของแถบสแกนดิเนเวีย ซึ่งมันคือปิศาจร้าย (Demon) เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ คำว่า “มาร” ในประเทศไทย เป็น มารที่อยู่ในศาสนาพุทธ, ในฮินดู Mara คือเทพเจ้าแห่งความตาย สิ่งนี้เองที่กลายเป็นกุญแจสำคัญ ที่จะมาเชื่อมโยงทุกอย่างเข้าด้วยกัน

 

 

Mara วันนี้ ในโรงภาพยนตร์

 

ตื่นไหลตาย

  • 20 September 2018
  • Adventure / อาชญากรรม / สยองขวัญ / ระทึกขวัญ /
  • 99 นาที
15+