HIGHLIGHT CONTENT

น่าอยู่ อบอุ่นหัวใจ...ไรม์ ซิตี้ มหานครแห่งเหล่าโปเกม่อน

  • 4,586
  • 08 พฤษภาคม 2019

 

น่าอยู่ อบอุ่นหัวใจ...ไรม์ ซิตี้ มหานครแห่งเหล่าโปเกม่อน

ที่นี่ไม่เหมือนกับที่ไหน

โฮเวิร์ด คลิฟฟอร์ด: “คุณกำลังจะเข้าสู่ไรม์ ซิตี้ ซึ่งเกิดขึ้นจากการเป็นพันธมิตรกันระหว่างมนุษย์กับโปเกมอน

 

จินตนาการของเรื่อง “POKÉMON Detective Pikachu - โปเกมอน ยอดนักสืบพิคาชู” มีความสอดคล้องกับจินตนาการของโฮเวิร์ด คลิฟฟอร์ดมาก ในบรรยากาศที่มนุษย์และโปเกมอนสามารถอาศัยอยู่ร่วมกันได้ โปเกมอนจำนวนมากถูกเร็นเดอร์ลงบนภาพยนตร์ บางตัวก็มีบทบาทเด่นส่วนบางตัวก็ปรากฎอยู่ในฉากด้านหลัง

 

การได้ร่วมงานกับ The Pokémon Company ถือเป็นสิ่งที่มีค่ามาก รวมถึงการได้รับข้อมูลจากประธานบริษัทและซีอีโอสึเนกาซุ อิชิฮาระ โดยมีเคน ซูกิโมริ นักวาดภาพเกมอาร์ตเวิร์คต้นฉบับของโปเกมอน พร้อมด้วยศิลปินและนักออกแบบอีกจำนวนมาก พวกเขามีการอ้างอิงข้อมูลมากมายเพื่อทำการค้นหารายละเอียดต่าง ๆ ไปจนถึงเล็บมือและขน เลทเทอร์แมนและทีมงานด้านเทคนิคที่สำคัญของเขาต้องทำการแปลงภาพจาก 2 มิติเป็น 3 มิติ

 

แอนิเมชั่นสมัยก่อนจะใช้คอนเซ็ปต์ที่ยืดหยุ่นแบบมีการบีบและยืด โดยที่ตัวละครต่าง ๆ จะเร็นเดอร์เป็นภาพ 3 มิติที่มีขนาดตายตัว มีการคำนวณสัดส่วนต่าง ๆ จากความสูงและความกว้างในช่วงแรกของแต่ละตัวละคร  “เราจะทำอะไรผิดเพี้ยนไปไม่ได้เลย” ผู้ควบคุมแอนิเมชั่นของเรื่อง เฟอร์เร็น โดเมเนช “เราไม่อยากให้ตัวละครเหล่านี้ดูเหมือนตัวการ์ตูนจนเกินไป เราเลยมีการอิงจากภาพธรรมชาติ และมีการใช้การค้นคว้าและพัฒนาร่วมกับผู้สร้างแอนิเมชั่นและรอก เพื่อสร้างตัวละครขึ้นมาจากรายละเอียดภายในสู่ภายนอก พวกเขาต้องมีลักษณะท่าทางการเคลื่อนไหวเหมือนมีน้ำหนักอยู่ในตัว”

 

 

ที่สำคัญสุดคือ “เราต้องนึกภาพว่าจะได้รายละเอียดทุกอย่างโดยที่ไม่ให้รายละเอียดสำคัญหายไป ซึ่งมีความสำคัญต่อการเชื่อมโยงระหว่างโปเกมอนและผู้คน” ผู้ควบคุมวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ อีริค นอร์ดบาย เคยร่วมงานกับเลทเทอร์แมนในเรื่อง  “Goosebumps” “สิ่งที่ต้องทำคือต้องแน่ใจว่าตัวละครเหล่านี้เป็นแบบไหน มีความสำคัญยังไง และมีจุดมุ่งหมายไปยังทิศทางนั้นตลอด”

 

แม้ว่าจะไม่ใช่สัตว์ แต่จากการออกแบบที่โดดเด่นของโปเกมอนจะมีบุคลิกลักษณะบางอย่างของสัตว์ต่าง ๆ ที่นำมาผสมกัน ทีมงานเลยมุ่งเน้นไปที่ความเป็นธรรมชาติทางร่างกายของเขา ไม่ว่าจะเป็นหนู เต่า ลิง นกอินทรี หรืออะไรก็ตามที่เรารู้สึกว่าใกล้เคียงกับแรงบันดาลใจขั้นพื้นฐานะที่สุด และยิ่งไปกว่านั้นคือการแสดงของเรย์โนลด์สช่วยทำให้ภาพของนักสืบพิคาชูบนหน้าจอมากกว่าน้ำเสียงของเขา “เขามีอิทธิพลต่อตัวละครมากครับ” โดเมเนชกล่าว “การแสดงของเขาเป็นตัวกำหนดลักษณะท่าทางและการแสดงของพิคาชูผ่านมุกตลก ลีลา นิสัย การแสดงออกทั้งหมดที่ออกมาจากการเคลื่อนไหวเล็ก ๆ น้อย ๆ”

 

สำหรับฉากที่ทิมและนักสืบพิคาชูต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายเรื่องการสืบสวนในภาษาของเขาเอง บาร์เรียด ผู้สร้างภาพยนตร์ได้จ้างนักแสดงละครใบ้ชาวนิวซีแลนด์และนักแสดงตลกชาว Trygve Wakenshaw เพื่อมาช่วยผู้สร้างแอนิเมชั่นและการแสดงของจัสติซ สมิธ

 

 

มีการสร้างหุ่นกระบอกต่าง ๆ ที่มีรายละเอียดใช้งานได้จริงสำหรับฝ่ายวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ เพื่อสร้างตัวละครขึ้นมาและทำให้นักแสดงมองเห็นภาพ “มีหลายครั้งที่นักสืบพิคาชูต้องมาอยู่บนไหล่ของผม” สมิธกล่าว “ผมจะเดินไปรอบ ๆ โดยมีหุ่นที่มีน้ำหนักอยู่บนไหล่ของผม ผู้สร้างแอนิเมชั่นก็จะสร้างตัวละครขึ้นมาจากการเคลื่อนไหวของผม เช่น ผมเอียงหัวยังไง ผมแสดงท่าทางยังไงเวลาเขาเอาหางฟาดหน้า”

 

สำหรับเมืองที่อยู่ในเรื่องราวอย่างไรม์ ซิตี้ สิ่งสำคัญที่เน้นย้ำอีกครั้งคือเรื่องความสมจริงและสไตล์ของเมืองที่โดดเด่นสะดุดตา ผู้ออกแบบฉากฯ  ไนเกล เฟลส์ อธิบายว่าเลทเทอร์แมนต้องการเมืองที่มีความทันสมัย โดยต้องมีความคุ้นตาและแปลกตา มีความเป็นสากลสำหรับทุกคน “เรามีการใช้ลอนดอนเป็นฐานตั้งมั่น แล้วลงเอยด้วยการสร้างสถานที่ ๆ มีการผสมผสานระหว่างนิวยอร์ก โตเกียว และลอนดอน ในเมืองนั้นมีความแตกต่างกันหลายอย่าง เช่น รถขับชิดทางซ้าย แต่ทำให้ได้ความรู้สึกแบบชาวอเมริกัน”

 

ขอบท้องฟ้าที่ถูกยืดโดยระบบดิจิตอลและป้ายโฆษณาเป็นการสร้างการจดจำของตำแหน่งเมือง บรรยากาศในเมืองนั้นเป็นแบบคลาสสิกนัวร์เพื่อให้สอดคล้องกับความน่ารักของนักสืบพิคาชู มีการใช้สีโทนเย็นและเข้ม พร้อมด้วยแสงไฟนีออนสะท้อนหยดน้ำฝนที่อยู่บนท้องถนน และมีเงาแบบแปลก ๆ อยู่ทุกมุมซึ่งเป็นสิ่งที่สื่อถึงความตื่นเต้นหรืออันตราย “สีสันโดยธรรมชาติของลอนดอนทำให้ได้ภาพพื้นหลังที่มีความลงตัว เพราะโปเกมอนต่าง ๆ มีสีสันจัดจ้าน” เฟลป์สกล่าว “หนึ่งในสิ่งแรกที่เราทำคือการสร้างผังแผนงานขึ้นมาโดยมีตัวละครทั้งหมดอยู่ในฉากต่าง ๆ เพื่อช่วยกำหนดสีสันของฉากต่าง ๆ”  

 

 

บางฉากมีการสร้างขึ้นมาที่ Shepperton Studios รวมถึงอพาร์ทเมนท์ของแฮร์รี่ เพนท์เฮ้าส์ของโฮเวิร์ด และ Hi Hat Café ที่ทิมและนักสืบพิคาชูพยายามคุยกัน โดยไม่มีคนอยู่รอบตัวคิดว่าทิมเสียสติไปแล้ว บรรยากาศภายใน The Roundhouse และห้องแล็บของ ดร.ลอว์เรนท์ ก็สร้างขึ้นที่ Leavesden Studios นอกจากนั้นยังมีสถานที่ต่าง ๆ ที่สำคัญซึ่งกองถ่ายใช้สถานที่จริงในประเทศอังกฤษและสก็อตแลนด์

 

ฉากที่ทิมโดนไล่ล่าจากอพาร์ทเมนท์ของพ่อและข้ามหลังคา โดยกองทัพที่อันตรายและไร้รูปแบบ เอย์แพม ถูกจับกุมภายใน 4 คืนบนดาดฟ้าของโรงกลั่นเบียร์  Truman Brewery ที่อีสต์ลอนดอน ขณะที่ภายนอกอาคาร Bishopsgate และ  Broadgate Plaza ใช้เป็นย่านการปกครองเดิมของแฮร์รี่ การถ่ายทำฉากแอคชั่นในเรื่องได้รวมถึงการใช้นักแสดงสมทบมากกว่า  300 คนในช่วงระยะเวลายาวนานกว่า 5 สัปดาห์ และมีการเก็บภาพในย่านใจกลางของ The City of London มีตึกสูงเสียดฟ้าอย่าง 122 Leadenhall ที่อยู่ตรงข้าม Lloyds of London หรือที่รู้จักดีในชื่อ The Cheesegrater ด้วยรูปร่าง จากจุดนั้นกองถ่ายมีการใช้สถานที่ Scottish Highlands โดยเฉพาะ Glen Affric, Glen Orchy และ Finnich Glen หรือที่รู้จักในชื่อ The Devil’s Pulpit สำหรับฉากภายในที่ใช้ช่วงสืบสวนทรีโอที่ลึกลับจนนำไปสู่ห้องแล็บของดร.ลอว์เรนท์ในพื้นที่ของป่าซึ่งอยู่ห่างจากเมือง

 

ฉากในห้องแล็บและผลลัพธ์ที่น่าเซอร์ไพรส์หลังจากนั้น นำไปสู่ฉากแอ็คชั่นที่นอร์ดบี้ชื่นชอบ มีการใช้สเปเชียลเอ็ฟเฟ็กต์จากความพยายามในแผนกของเขา ซึ่งควบคุมโดยสตีเว่น วอร์เนอร์ รวมถึงกรีนส์และผู้ควบคุมการแสดงผาดโผนอย่างแฟรงคลิน เฮนสัน ทำให้ทิม ลูซี่ และนักสืบพิคาชูต้องนิ่งอยู่ท่ามกลางความว่างเปล่าที่อยู่ ๆ ก็แยกตัวออกจากกัน สมิธและนิวตันต้องเรียนการดำน้ำแบบสคูบ้าสำหรับเข้าฉากที่พวกเขาต้องจมอยู่ในทะเลสาบ นอร์ดบี้เล่าด้วยความดีใจว่า “มันทำให้ผมรู้สึกตื่นเต้นมากเพราะมีเทคนิคที่ท้าทายหลายอย่างเลย! เราต้องเคลื่อนย้ายโลหะขนาดหลายตัน พาทีมงานทั้งหมดไปที่สก็อตแลนด์และถ่ายทำกันในโคลนด้วยเฮลิคอปเตอร์และโดรน” 

 

 

 การออกแบบในฉากที่ดูเหมือนโลกมีการขยับได้ ต้องมีการใช้เหล็กที่มีความยาวมากกว่า 100 ฟีต โดยมีด้านหนึ่งที่ทำมุม 22 องศาครึ่งไปจนถึง 90 องศา สร้างบนเครื่องระบบไฮดรอลิคที่มีทรายและใบไม้ปกคลุม ทั้ง 4 ด้านใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมแยกกันได้ เฮนสันเล่าว่า “เราใส่มุกที่สนุก ๆ ลงไปเพื่อรักษาความสนุกสนานและทำให้มีความตื่นเต้น”

 

 “โปเกมอนตัวโปรดของผมควรเป็นพิคาชู แต่ในความเป็นจริงแล้วระหว่างช่วงถ่ายทำ ผมพบว่าตัวเองชอบโคดักและอาการปวดหัวของเขาเวลาพยายามหาทางทำทุกอย่างให้สำเร็จ” เลทเทอร์แมนเล่าพร้อมหัวเราะ    

 

นอกจากเรื่องตลกแล้วเขายังกล่าวสรุปอีกว่า “สิ่งที่ผมรักในเรื่องนี้ไม่ต่างจากหนังทุกเรื่องที่ผมชอบดู คืออารมณ์ที่ออกมาอย่างแท้จริงและมีเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์ สิ่งสำคัญคือต้องมีตัวละครที่ทำให้เราหัวเราะ ร้องไห้ และรู้สึกหวาดกลัวแทนพวกเขาได้ เมื่อความลงตัวทุกอย่างมารวมตัวกัน เราสามารถสร้างสิ่งที่น่าสนใจและสิ่งที่น่ารักให้ผู้ชมทั่วโลกได้สัมผัส มันเหมือนกับเรื่องมหัศจรรย์ นั่นคือความหมายของหนังเรื่องนี้ที่มีต่อผมครับ เราหวังว่าผู้ชมก็จะรู้สึกแบบเดียวกัน”

 

Pokemon: Detective Pikachu เข้าฉาย 9 พฤษภาคม ในโรงภาพยนตร์

 

 

โปเกมอน ยอดนักสืบพิคาชู

  • 09 May 2019
  • Adventure / แอนิเมชัน / แฟนตาซี /
  • 104 นาที
15+

ข่าวที่เกี่ยวข้อง