HIGHLIGHT CONTENT

ปีเตอร์ แจ็คสัน เผยถึงระบบ HFR 3D ที่ใช้ถ่ายทำ The Hobbit: An Unexpected Journey

  • 5,900
  • 03 ธ.ค. 2012

ปีเตอร์ แจ็คสัน เผยถึงระบบ  HFR 3D ที่ใช้ถ่ายทำ The Hobbit: An Unexpected Journey

คำถาม: ทำไมคุณถึงถ่ายทำ The Hobbit ไตรภาคด้วยรูปแบบ High Frame Rate (HFR)?  

ปีเตอร์ แจ็คสัน: เราอยู่ในยุคดิจิตอลที่รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ยกระดับและเพิ่มประสบการณ์ในการเข้าถึงภาพยนตร์ได้มากขึ้น การถ่ายทำด้วยระบบ High Frame Rate สำหรับภาพยนตร์ระดับแนวหน้า เพิ่งมีการพัฒนาขึ้นเมื่อ 1-2 ปีที่ผ่านมา และเราอยู่ในยุคที่เน้นคุณค่าของความบันเทิงในบ้าน ผมเริ่มถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง The Hobbit ในระบบ HFR เพราะผมต้องการให้ผู้ชมสัมผัสได้ว่าประสบการณ์ในการชมที่โรงภาพยนตร์จะทำให้คุณได้เต็มอิ่มกับมันมากเป็นพิเศษขนาดไหน

คำถาม:  ประวัติศาสตร์ของอัตราส่วนของเฟรมภาพมีประวัติความเป็นมาอย่างไร และทำไมคุณคิดว่าถึงเวลานำมันเข้ามาสู่โรงภาพยนตร์แล้ว?

ปีเตอร์ แจ็คสัน: หนังเงียบมีการถ่ายทำที่ระหว่าง 16-18 เฟรมต่อวินาที (fps) ด้วยกล้องที่หมุนด้วยมือ ในปี 1927 เมื่อมีเทคโนโลยีด้านเสียงเข้ามา วงการภาพยนตร์ต้องยอมรับในสปีดคงที่ของกล้องถ่ายภาพยนตร์ที่ควบคุมโดยมอเตอร์  การเก็บฟิล์ม 35 มม. มีค่าใช้จ่ายสูงมาก ฉะนั้นความเร็วจะต้องช้าที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ถึงอย่างไรเส้นเสียงออปติคในยุคแรกต้องใช้สปีดต่ำเพื่อบรรลุถึงความคมชัดของเสียง จึงมีการเลือกใช้แบบ 24 เฟรมต่อวินาที จนกลายเป็นมาตรฐานของวงการตลอดช่วงเวลากว่า 80 ปี กล้องทั่วโลกมีการติดตั้งเครื่องฉายภาพยนตร์ให้นำเสนอภาพได้ที่ 24 เฟรมต่อวินาทีเท่านั้น 24 เฟรมต่อวินาทีจึงเป็นบทสรุปของด้านการค้า สปีดที่มีราคาถูกสุดถูกใช้เป็นมาตรฐาน ซึ่งมันสร้างการเคลื่อนไหว เช่น การทำให้ตารับแสงมากเกินไป, การรับภาพไม่คมชัดและไม่ต่อเนื่อง มาถึงตอนนี้ในที่เป็นยุคดิจิตอล ไม่มีเหตุผลใดเป็นข้อยึดติดกับ 24 เฟรมต่อวินาทีแล้ว เราใช้ความสมบูรณ์แบบเหมือนในปี 1927 ไม่ได้แล้ว วิทยาศาสตร์สอนเราว่าดวงตาของมนุษย์เปิดรับการมองเห็นแต่ละภาพได้ที่ 55 เฟรมต่อวินาที ฉะนั้นการถ่ายทำที่ 48 เฟรมต่อวินาทีทำให้เกิดภาพลวงตามากกว่าสภาพจริง การลดโอกาสเกิดภาพเคลื่อนไหวที่ไม่คมชัดในแต่ละเฟรม ทำให้มีความคมชัดมากขึ้น และทำให้ภาพยนตร์เหมือนถ่ายทำแบบ 65 มม. หรือระบบ IMAX ข้อดีที่สำคัญสุดคือในความเป็นจริงแล้วตาของคุณจะเห็นภาพเป็น 2 เท่าในแต่ละวินาที ทำให้เต็มอิ่มกับภาพยนตร์อย่างน่าอัศจรรย์ ทำให้สัมผัสประสบการณ์แบบ 3 มิติได้อย่างนุ่มนวลขึ้น และลดอาการเพลียตาลงได้มาก ทำให้การชมในรูปแบบ 3 มิติไม่ค่อยสบายตา ดวงตาของผู้ชมแต่ละข้างจะได้รับแสงมาก, เกิดอาการภาพไม่คมชัดและไม่ต่อเนื่อง ทุกปัญหาจะหายไปจากระบบ HFR 3D

คำถาม: สำหรับการถ่ายทำภาพยนตร์โดยการใช้เทคโนโลยี HFR คุณคิดว่าจะได้รับประสบการณ์อย่างไรบ้าง?  

ปีเตอร์ แจ็คสัน:  ผมคิดว่า HFR ดีเยี่ยมมาก ในฐานะผู้สร้างภาพยนตร์ ผมพยายามทำให้หนังของผมมีความดึงดูด ผมอยากดึงดูดผู้ชมออกมาจากเบาะ และดึงพวกเขามาสู่การผจญภัย นี่เป็นประสบการณ์ที่ผมตั้งใจมอบให้ผู้ชมภาพยนตร์ ไม่ว่าพวกเขาจะเลือกชมระบบใดในโรงก็ตาม โดยส่วนตัวแล้วผมเลือกที่จะดู The Hobbit: An Unexpected Journey ในระบบ HFR 3D ผมยืนยันได้ว่าทุกระบบจะมอบประสบการณ์สุดคาดคิดที่เต็มอิ่มให้กับคุณ HFR 3D เป็น “ความแปลกใหม่” มันจะรู้สึกต่างจากบรรดาหนังที่คุณเคยดู กรณีเดียวกันแผ่นซีดีเพลงยุคแรกก็ไม่มีเสียงเหมือนแผ่นเสียงไวนิล เราอยู่ในยุคที่ภาพยนตร์ต้องแข่งขันกันบนไอแพดและระบบความบันเทิงตามบ้าน ผมคิดว่ามันเป็นจุดเปลี่ยนที่ผู้ชมภาพยนตร์จะใช้เทคโนโลยี ณ ปัจจุบันเพื่อเพิ่มความดึงดูดและประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นอย่างที่ภาพยนตร์ควรจะมอบให้ได้ นี่เป็นช่วงเวลาแห่งความตื่นเต้นสำหรับการไปชมภาพยนตร์เลยทีเดียว

The Hobbit: An Unexpected Journey  - เดอะ ฮอบบิท : การผจญภัยสุดคาดคิด 13 ธันวาคมนี้ ในรูปแบบ 3 มิติ, HFR3D , IMAX และระบบ 2 มิติ http://www.facebook.com/TheHobbit.AnUnexpectedJourney.Thai http://www.thehobbitanunexpectedjourney-thai.com