HIGHLIGHT CONTENT

พูดคุยกับศิลปินผู้ออกแบบตัวละครและโลกมัสติเวิร์สของ The Flash

  • 412
  • 12 มิ.ย. 2023

พูดคุยกับศิลปินผู้ออกแบบตัวละครและโลกมัสติเวิร์สของ The Flash

 

 

การเผชิญหน้ากับความท้าทาย

 

ผู้เขียนบทฯ คริสติน่า ฮอดสัน: ครั้งแรกที่มีการคุยกันเรื่องเขียนบทฯ “The Flash” ฉันค่อนข้างกลัวค่ะเพราะนี่เป็นตัวละครที่มีคนรักเยอะมาก และมีเรื่องราวความเป็นมาในอดีตมากมาย สิ่งที่ทำให้ฉันตื่นเต้นมากในช่วงแรกเริ่มคือความเป็นไปได้ที่จะถ่ายทอดทั้งความยิ่งใหญ่ การเปลี่ยนแปลงจักรวาล เรื่องราวสุดอลังการ ความรู้สึกส่วนตัวที่เป็นหัวใจหลักของเรื่อง ฉันคิดว่าการได้สร้างผลงานในหนังฟอร์มยักษ์แบบนี้เป็นเรื่องที่หาได้ยากค่ะ
 

สไตล์ของ “เดอะ แฟลช”

 

ผู้กำกับภาพ เฮนรี่ บราแฮม: ผมสนุกกับการแก้ปัญหา และสำหรับการสร้างหนังนี่คือวงการที่แก้ปัญหากันอย่างหนักหน่วงมาก ไอเดียสำคัญที่ให้เอซร่าแสดงควบ 2 บทนั้น เราจะทำที่ไม่ทำให้ผู้ชมรู้สึกผิดสังเกตและไม่คิดถึงเรื่องนั้น นับป็นความท้าทายอย่างหนึ่งเลยครับ เหมือนจะเป็นเรื่องที่เคยทำกันมาแล้วหลายครั้ง แต่ผู้ชมเองก็เคยเห็นอะไรมาเยอะมาก  ทำให้จับผิดได้ง่ายและจะรู้สึกว่ามันดูไม่สมจริง

ภาพโดยรวมที่จินตนาการไว้สำหรับหนังมีการอิงสไตล์ภาพถ่ายที่ดูสมจริง ทุกอย่างเริ่มบนความสมจริง ซึ่งนั่นคือเหตุผลสำหรับบางอย่าง จนมาถึงในส่วนที่ให้เอซร่ามาแสดงทั้ง 2 บทบาท ต้องแน่ใจว่ากล้องจะเคลื่อนไหวได้สอดคล้องกันขณะที่นักแสดงรับบทควบ

 

การออกแบบที่ให้เกียรติประวัติความเป็นมา

 

ผู้ออกแบบฉาก พอล เดนแฮม ออสเทอร์เบอร์รี่: ตอนที่เราเริ่มหาภาพลักษณ์โดยรวมของเรื่องนี้ เราดูที่เรื่องราวในอดีตที่ผ่านมา เรามี 2 ฟากฝั่ง เรามีหนัง 2 เรื่องที่ต้องเคารพไว้ คือการออกแบบของแอนตอน เฟิร์สตใน “Batman” ผลงานทิม เบอร์ตันร่วมงานกับไมเคิล คีตัน และการออกแบบของแพทริค ทาโทพูลอสในผลงานของสไนเดอร์ร่วมกับเบ็น แอฟเฟล็ค มันมีภาษาภาพที่ชัดเจนมากในหนังเรื่องทั้ง 2 เรื่องแต่มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชง และเรานำการออกแบบทั้ง 2 แนวมาใช้ในหนังเรื่องนี้  

ตัวอย่างเช่นถ้ำค้างคาวคือสิงสำคัญในเรื่อง และเป็นสิ่งสำคัญในหนังภาคแรก ช่วงเวลาที่ต่างกันมีวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์และงบที่ต่างกัน พวกเขาใช้การวาดผิวหยาบขึ้นมาเพื่อสร้างถ้ำทั้งหลัง แต่ในเรืองนี้มีเทคนิคที่ทันสมัยขึ้นกว่านั้น เราสามารถสร้างบรรยากาศรอบตัว 360 องศาได้เลย 

หลังจากนั้นสำหรับการออกแบบของทาโทพูลอส เรามีทั้งภาษาของยานพาหนะและอีกหลายอย่างที่ต่างไปอย่างสิ้นเชิง ผมอยากแน่ใจว่าโลก 2 ใบนั้นห่างไกลกันมาก เลยมีการดึงรายละเอียดบางส่วนมารวมเข้าด้วยกัน … แม้ว่าหนังของเราจะมีการย้อนกลับไปมาระหว่าง 2 ช่วงเวลา ผมคิดว่าผู้ชมคงอยากได้ภาษาภาพที่ดูสมจริง หนังของเราจึงมีการผสมผสานหลายส่วนที่ต่างกันในเรื่อง  
 

 

ผู้ลำดับภาพในฐานะของพาร์ทเนอร์

 

ผู้ลำดับภาพเจสัน บอลแลนไทน์: พอลกบผมลำดับภาพร่วมกันในเรื่อง เราเริ่มทำงานในช่วงเวลาเดียวกัน พอลอยู่ในฉากที่ลอนดอนกับกองถ่ายหลัก เพื่อซัพพอร์ทแอนดี้และพร้อมลำดับภาพทันที ทำให้แอนดี้เกิดความมั่นใจในสิ่งที่จะถ่ายทอดออกไปและอีกหลายอย่าง จากนั้นภาพที่พอลตัดเอาไว้จะส่งกลับมาหาผมที่ลอสแองเจลิส ผมจะขัดเกลาบางส่วนต่อจนออกมาเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุด ต่อมาจะมีการรวมเข้ากับฉากแอ็คชั่นที่ตัดต่อร่วมกับกองถ่ายย่อย หลังจากที่ถ่ายทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราจะนำเสนอภาพรวมร่างแรกทันที จากนั้นเมื่อพอลกลับมาที่ลอสแองเจลิส เราจะแยกหนังทั้ง 10 ม้วนและช่วยกันตัดต่อเพื่อทำให้ออกมาเป็นแบบที่แอนดี้ต้องการ

ผู้ลำดับภาพ พอล แมชลิส: ในภาพยนตร์ 2 เรื่องล่าสุดที่ร่วมงานกับเอ็ดการ์ ไรท์ ผมได้พัฒนาการตัดต่อฉากด้วยฉากที่เคลื่อนที่ได้เป็นเวลา 12 ที่ผ่านมา พอผมนำไปเสนอแอนดี้เขาไม่มั่นใจสักเท่าไหร่ ผมขอเวลาลองทำ 2 สัปดาห์หากมันดูแล้วไม่เหมาะ ผมจะกลับไปใช้การลำดับภาพแบบเดิม ซึ่งมันก็ไม่ได้แย่สักเท่าไหร่เพราะผมเป็นคนสร้างผลงาน นับว่าเป็นข้อดีด้วยซ้ำที่ลำดับภาพได้ในฉากและได้ฟีดแบคทันที พอแอนดี้เห็นแบบนั้นเขาก็ให้เราเดินหน้าต่อได้ 

เมื่อเราเจอฉากที่ใหญ่ขึ้น นับเป็นเรื่องดีมากที่แอนดี้และคนอื่นจะได้เห็นภาพจริง ได้ตรวจเช็คกันว่าควรทำงานต่อในทิศทางไหน และสามารถรวมภาพจากกล้องแต่ละตัว กล้องจากกองถ่ายย่อย และการร่วมงานจากทีมอื่นได้ ทุกอย่างสามารถนำเสนอให้แอนดี้เห็นได้เลย เขาสามารถให้ความเห็นจากผลงานที่ทุกแผนกร่วมกันสร้างขึ้นมาได้ 
 

 

ความน่าเชื่อถือ

 


เฮนรี่ บราแฮม: สิ่งที่ดูจะเหมาะกับหนังเรื่องนี้ คือฉากที่ดูมีความหมายและสมจริง ทำให้เราเชื่อว่าน่าจะเป็นโลกปัจจุบันของเรา… เว้นแต่มีเรื่องพิเศษเกิดขึ้น ผมเริ่มสำรวจการผจญภัยนั้นในหนังเรื่องอื่น แต่แอนดี้กับผมคิดว่าเราควรมุ่งที่เส้นทางของ “The Flash” นั่นคือการกำหนดแนวการทำงานของเรา

อย่าลืมว่าที่ๆ เหมาะจะดูหนังแบบนี้ที่สุดคือในโรงภาพยนตร์ เพราะเราสามารถถ่ายทอดภาพสู่ผู้ชมได้ทุกรายละเอียด แทนที่จะนำเสนอแค่ฉากขนาดใหญ่ มีภาพสวยๆ ย้อนกลับไปและพูดว่า “เราไม่เก่งหรือ?” แบบนั้นไม่ทำให้ผู้ชมเกิดความสนใจได้สักเท่าไหร่ เพราะเราแยกพวกเขาออกจากเรื่องราว แต่หากถ่ายทอดเรื่องราวผ่านภาพได้ในระดับที่ผู้ชมคาดไม่ถึงจะยิ่งทำให้นึกถึงความสมจริง และคุ้มค่ากับไอเดียที่มี
 

การออกแบบที่กว้างขึ้น

พอล เดนแฮม ออสเทอร์เบอร์รี่: ในช่วงแรกพื้นที่ของซูเปอร์เกิร์ลจะมีแต่กำแพงของที่คุมขังในไซบีเรีย ผมคิดว่ามันก็ดูน่าสนใจดีแต่อยากใส่ลูกเล่นอะไรขึ้นอีกหน่อย ผมเสนอแอนดี้ว่า “คุณคิดอย่างไรหากเราทำให้มันดูเป็นค่ายทหารที่เลิกใช้งานแล้ว? มันทำให้เรามีพื้นที่สื่อสารกว้างขึ้นมั้ย?” เมื่อเราปรับให้กลายเป็นค่ายทหารในสงครามเย็น มันเป็นการเปิดโอกาสให้เล่นกับภาพได้กว้างขึ้น ผมอิงหลายอย่างจากค่ายต่างๆ ช่วงอากาศหนาว และยังมีอนุสรณ์ในบัลกาเรียที่แอนดี้ชอบมาก จนกลายเป็นสิ่งที่เขาอยากใส่เข้าไปในค่ายด้วย ทุกอย่างมารวมเข้ากันและผมคิดว่าเราได้สร้างภาพที่มีความดึงดูดได้อย่างน่าสนใจ เป็นอะไรที่สนุนกดีครับ 
 

การจำลองตัวละคร

 

คริสติน่า ฮอดสัน: การเขียนตัวละครขึ้นมา 2 เวอร์ชันของแบร์รี่ อัลเล็นหมายถึงการเขียนแฟลชขึ้นมา 2 เวอร์ชันด้วย และนั่นเป็นความท้าทายอย่างมหาศาลแต่ก็สนุกมากด้วยเช่นกัน ฉันรักไอเดียที่หากเราย้อนเวลากลับไปได้ เปลี่ยนแปลงความคิดตัวเอง เราจะกลายเป็นคนเดิมที่มี 2 เวอร์ชันและแตกต่างออกไป มันดีมากค่ะที่ให้มีแบร์รี่ 2 ร่างในคนเดียวกันแต่ต่างกันโดยสิ้นเชิง มันเหมือนกับมีน้องชายที่น่ารำคาญในร่างของตัวเอง เหมือนกับฉันที่เป็นน้องสาวทำตัวน่ารำคาญค่ะ ฉันรักตอนเขียนฉากเหล่านั้น จุดมุ่งหมายสำคัญคือการหาทางทำให้ 2 แบร์รี่นั้นดูต่างกัน มิตรภาพระหว่างพวกเขาดูเชื่อมโยงถึงกันได้ในแบบที่เราเข้าใจดี
การสื่อสารกับผู้ชม…

เฮนรี่ บราแฮม: ผมไม่ได้คิดถึงขอบเขตและขนาดของหนังเลย ผมคิดแต่การถ่ายทอดประเด็นสำคัญที่เราพัฒนาขึ้นมา และเรื่องอื่นจะตามมาด้วย นั่นเป็นสิ่งที่สำคัญในการสร้างไอเดีย และเป็นหัวใจของการกำหนดเป้าหมายในการสร้างหนังด้วย

เราสามารถเอากล้องเข้าไปอยู่ในห้องและพาผู้ชมเข้าสู่ห้องนั้นได้หลายรูปแบบ แต่ต้องถ่ายทอดออกมาอย่างเข้มข้น เช่น ฉากโคลสอัพอาจใช้เลนส์ยาวเพื่อสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง จะเหมือนผู้ชมยืนอยู่ด้านหลัง ในกรณีนี้แอนดี้กับผมสนใจความสัมพันธ์ระหว่างตัวละคร นั่นหมายถึงการถ่ายกล้องระยะใกล้ จับภาพการแสดงของพวกเขา และไม่ใช่แค่นั้นต้องถ่ายทอดอารมณ์ออกมาให้ได้ด้วย นั่นคือจุดประสงค์ของการเคลื่อนไหวกล้องและการถ่ายทำของเรา เพือทำให้ผู้ชมแทบจะเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวละคร

และมีหลายส่วนใน “The Flash” ที่พัฒนาขึ้นคือการถ่ายทำแบบฟรีสไตล์ เราไม่มีการมาร์คตำแหน่งบนพื้นอะไรเลย อยู่ที่ความสอดคล้องระหว่างกล้องกับนักแสดงล้วนๆ ซึ่งการแสดงของพวกขาพัฒนาขึ้นในแต่ละฉาก แน่นอนว่าแอนดี้และเอซร่าต้องควบคุมอะไรหลายอย่าง เราไม่อยากแค่นั่งคุยกัน 10 นาทีในแต่ละเรื่อง เราสามารถทำงานร่วมกับส่วนอื่นได้โดยไม่ต้องพูดอะไรกันเลย เพราะเราเข้าใจกันได้ดี และผมคิดว่านั่นทำให้เกิดความสนิทกัน

เจสัน บอลแลนไทน์: แอนดี้และเฮนรี่มุ่งมั่นว่าภาพนั้นต้องอาศัยเทคโนโลยีในการถ่ายทอดทั้งสองแบร์รี่ออกมา ซึ่งจะเปิดโอกาสให้กล้องมีอิสระ สมัยก่อนเมื่อตัวละครต้องแยกกันมักจะเป็นการแบ่งหน้าจอ กล้องจะถูกล็อคเอาไว้หรืออาจขยับการเคลื่อนไหวแทนเวลาที่ตัวละครยืนตำแหน่งที่ต่างกัน แต่สำหรับเรื่องนี้เรามีนักแสดงแทนที่จำลองเป็นแบร์รี่ ของเอซร่า ทำให้กล้องมีอิสระอย่างลงตัว สามารถเลือกได้ว่าจะขยับไปทิศทางไหนไม่จำเป็นต้องอยู่ในมุมเดิม และหลังจากจัดการเรื่องการถ่ายภาพได้แล้ว เอซร่าก็จะแสดงอีกบทบาทหนึ่ง และเราใช้เทคนิคตัดต่อศีรษะของเขาลงไปแทนนักแสดงอีกคน

พอล แมชลิส: มีการนำฟุตเทจทั้งหมดมาตัดต่อเพื่อให้ได้ความยาวที่เหมาะสมและเก็บครบทุกรายละเอียด ปตินั่นจะเป็นขั้นตอนที่ผู้ลำดับภาพทำกันช่วงหลังถ่ายทำ เรามักคิดว่า “เยี่ยมเลย อยากช่วยตัดต่อให้เสร็จจัง” แต่ด้วยรายละเอียดที่เพิ่มเข้าไปในการถ่ายภาพ และแอนดี้ทั้งสองร่างมีเรื่องราวที่ซับซ้อน เราอยากแน่ใจว่าถ่ายทอดความรู้สึกได้ไม่ผิดเพี้ยน และทำให้ทุกคนที่ดูไม่หลงประเด็นของเรื่องราว มันมีข้อดีบางอย่างในการทำงานตามแบบของเรา 
 

การร่วมงานกันอย่างเข้มข้น

 

คริสติน่า ฮอดสัน: การร่วมงานกับแอนดี้ในเรื่องนี้สนุกสุดๆ เลยค่ะ เขามีทั้งแพชชั่นและความสนุกสนาน เขาคือแฟนตัวจริงเลยล่ะ การร่วมงานกับเขาเป็นเรื่องที่น่ายินดีมากค่ะ เราใช้เวลานานหลายชั่วโมงเพื่อคุยกันเรื่องตัวละคร หยอกล้อกัน คุยกันเรื่องการเดินทางข้ามเวลา คุยกันเรื่องทฤษฎีของมัลติเวิร์ส และเขาเป็นผู้ร่วมงานที่ดีเหลือเชื่อมากค่ะ ฉันคิดว่านั่นคือความพิเศษของแอนดี้ เขามีช่วงเวลาที่สร้างความสนุกสนานทำอะไรประหลาดๆ ออกมา และมีช่วงที่เรียกดราม่าได้สมจริง มีช่วงที่ดูน่ากลัว ฉากในหนังก็ดูน่าทึ่ง ฉากแอ็คชั่นน่าตื่นเต้น มีความยิ่งใหญ่และสนุกมากค่ะ 

ฉันคิดว่าช่วงเวลาที่มีในหนังเรื่องนี้ตอนที่รู้สึกว่าพวกเรามีความสุข คือตอนที่คุยกันเรื่องฉากเปดตัว แนเขียนบางอย่างลงไปในร่างแรก มีทั้งความกล้าหาญ ความสนุกสนานเหลือเชื่อระหว่างแบทแมนและแบร์รี่ และแอนดี้ช่วยฉันคิดไอเดียเรื่องการจัดงานปาร์ตี้ต้อนรับเด็กน้อย ฉันพูดว่า “คุณอยากให้มีเด็ก 12 คนแตกออกเป็น 10 เรื่องราวจากโรงพยาบาลงั้นหรือ?” เรามีความสนุกหลายอย่างที่มาจากเรื่องวุ่นๆ เมื่อเด็กทั้ง 12 คนถูกโยนออกนอกหน้าต่าง

พอล เดนแฮม ออสเทอร์เบอร์รี่: ระหว่างแอนดี้ บาร์บาร่าและผม เราสร้างมิตรภาพที่รู้สึกสบายใจและมีความเป็นมิตรกันมาก การสร้างหนังสักเรื่องเป็นเรื่องยากและมีหลายสิ่งต้องจัดการ นับเป็นเรื่องดีเสมอที่เรารู้สึกสบายใจจะนำเสนอไอเดียประหลาดบางอย่างออกมา หรืออาจเป็นไอเดียที่เรารู้ว่าจะไม่ถูกปิดกั้น แอนดี้เป็นคนมีไอเดียที่ดี บางไอเดียก็แปลกดี เราสามารถเล่นกับไอเดียไปๆ มาๆ ได้ตลอด  พวกเราพยายามหาทางที่จะทำให้ไอเดียนั้นได้ผลเสมอ 

เจสัน บัลแลนไทน์: เมื่อแอนดี้เคาะบทสรุปผมจะไม่โต้แย้งอะไร ผมคิดว่าหนังเรื่อง “IT” เป็นตัวอย่างความคลาสสิคในความกล้าของแอนดี้ที่เหนือคาดหมายและถ่ายทอดได้เกินคาด ผมคิดว่า “The Flash” ก็มีความรู้สึกในระดับเดียวกัน โอบล้อมด้วยความรักที่มีต่อซูเปอร์ฮีโร่ ความดีงามของแอนดี้คือเขามักจะยึดเรื่องการสะท้อนอารมณ์เป็นหลัก ในหนังเรื่องก่อนๆ ก็มีการอิงจากองค์ประกอบเหล่านั้น และ “The Flash” ไม่ต่างจากมุมนั้นเลย หัวใจสำคัญคือเรื่องราวระหว่างแม่กับลูก แต่เมื่อฉากแอ็คชั่นเข้มข้นขึ้น รายละเอียดที่ซับซ้อนของตัวละครในมัลติเวิร์สก็ยิ่งใหญ่อลังการมากขึ้นด้วย
 

The Flash หรือ เดอะ แฟลช The Flash มีกำหนดเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ในวันที่ 15 มิถุนายน ที่จะถึงนี้

สำหรับแฟนหนังเมเจอร์ ห้ามพลาดกับบัตรดูหนังสุดคุ้ม M PASS ที่จะทำให้คุณคุ้มเต็มอิ่มกับการดูหนังตลอดทั้งปี เตรียมไปมันส์กับกองทัพหนังดังมากมาย สมัครง่ายๆเพียงแค่คลิก ที่นี่ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง