HIGHLIGHT CONTENT

ข้อมูลหนัง ปาดังเบซาร์

  • 7,180
  • 08 มี.ค. 2013

ปาดังเบซาร์ I carried you home

เข้าฉายวันเสาร์ที่ 23 มีนาคม 2556 รอบ 13.00 น. และ 18.00 น./ วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2556 รอบ 14.00 น. โรงภาพยนตร์ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ เซ็นทรัลพลาซ่า เชียงใหม่ แอร์พอร์ท

เคยถามตัวเองมั้ย ว่ามัวแต่ใช้ชีวิต จนลืมคนที่รักคุณแบบไม่มีเงื่อนไขไปหรือเปล่า??? คนที่นอนไม่หลับถ้ารู้ว่าคุณยังไม่ถึงบ้าน...คนที่ให้อภัยคุณเสมอแม้ว่าคุณจะทำผิดพลาดขนาดไหน...คนที่คุณเจ็บ เขาก็เจ็บ “ปาดังเบซาร์”.....จะพาคุณไปพบกับ การเดินทาง...ครั้งสุดท้าย สู่จุดเริ่มต้นของความเข้าใจ เพราะท้ายที่สุด “ทุกคนต้องกลับบ้าน”

เรื่องย่อ

ภาพยนตร์เล่าถึงครอบครัวๆจากอำเภอปาดังเบซาร์ จังหวัดสงขลา เรื่องราวของแม่และลูกสาวสองคน ทั้งสองคนพี่น้องต่างคนต่างก็ต้องจากบ้านเกิด แยกกันใช้ชีวิตอยู่ในที่อื่นๆไปตามหนทางของแแต่ละคน แล้ววันหนึ่งทุกคนได้กลับมาพบกันอีกครั้ง เมื่อวันหนึ่งแม่ได้มาเยี่ยมลูกสาวคนเล็กวัยมัธยมปลาย “ป่าน” (สายป่าน อภิญญา สกุลเจริญสุข) ที่ส่งมาอาศัยให้อยู่กับน้าสาวและเรียนหนังสืออยู่ที่กรุงเทพ แต่แม่ก็มาประสพอุบัติเหตุร้ายแรงจนเสียชีวิต ป่านรอจนกระทั่ง “ปิ่น” (จักจั่น อคัมย์สิริ สุวรรณศุข) พี่สาวคนโต ที่หนีออกจากบ้านไปทำงานและอาศัยอยู่ทีประเทศสิงค์โปร์กลับมาในเช้าวันรุ่งขึ้น  เพื่อที่จะนำศพของแม่เดินทางกลับไปทำพิธีศพยังบ้านเกิด บรรยากาศในรถปกคลุมไปด้วยความตึงเครียดระหว่างสองพี่น้องที่ไม่ได้เจอหน้ากันนาน และต่างคนต่างก็กุมความลับความรู้สึกผิดของตนไว้โดยที่ไม่อยากให้อีกคนได้รับรู้ ป่านที่จมอยู่กับความรู้สึกผิดที่ปล่อยให้แม่จากไปอย่างโดดเดี่ยว ทั้งๆที่ก่อนหน้านั้นไม่กี่นาทีพยาบาลก็ได้มาเตือนให้รู้แล้วว่าลมหายใจสุดท้ายของแม่กำลังจะมาถึงแล้ว ส่วนปิ่นเองก็ยังรู้สึกผิดอยู่ข้างในที่เธอยังไม่ได้บอกเหตุผลและความจริงให้แม่ได้รับรู้ว่าทำไมเธอถึงต้องทะเลาะกับแม่เพื่อที่จะขอยกเลิกงานแต่งงานของเธอเองเพียงไม่กี่วันก่อนหน้าที่จะมีงานพิธีจนต้องหนีหายไปจากบ้านเมื่อสี่ปีก่อน การเดินทางดำเนินต่อไปอย่างตึงเครียด แต่บางครั่งก็ถูกขัดด้วยอารมณ์ขันอันไม่ถูกทีถูกเวลาของ “ต่อ” (ต่อพงษ์ กุลอ่อน) คนขับรถ มีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นกับทั้งสามคนอยู่เป็นระยะ ซึ่งเหตุการณ์ต่างๆเหล่านี้เป็นตัวบังคับให้ปิ่นและป่านต้องหันกลับมาเริ่มคุยกันอีกครั่ง และการที่ปิ่นและป่านถูกบังคับให้มาใช้เวลาอยู่ร่วมกันตลอดการเดินทางในครั้งนี้ ทำให้ทั้งสองค่อยๆเริ่มที่จะแบ่งปันเรื่องราวของตนให้กันและกันฟัง ทำให้ทั้งปิ่นและป่านต่างก็รับรู้ได้ถึงความรู้สึกที่มีต่อกัน และเข้าใจถึงความรู้สึกลึกๆของตนเองว่าความจริงแล้วพวกเธอก็อยากที่จะอยู่กับครอบครัวมากกว่าที่จะต้องแยกจากกันไปอยู่กันคนละที่คนละทาง จนกระทั้งบางสิ่งบางอย่างทำให้ปิ่นตัดสินใจที่จะเปิดเผยเรื่องราวที่เธอปิดบังเอาไว้ว่าทำไมเธอถึงต้องหนีออกจากบ้านไปในตอนนั้นให้ป่านฟัง และทั้งสองคนก็ต้องตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรกับความสัมพันธ์ที่แตกแยกของครอบครัวตนเมื่อได้พบกับพ่อที่กลับมาหาครอบครัวไปอีกครั้งในวันที่ต้องไปลอยอังคารแม่

นักแสดง

“ปิ่น” (จักจั่น อคัมย์สิริ สุวรรณศุข) - - “ปิ่น” พี่สาวของครอบครัว มีปมอย่างในใจ ทำให้ต้องหนีไปใช้ชีวิตที่ต่างแดน เป็นคนไม่ค่อยพูด เก็บความรู้สึก อ่อนนอก แข็งใน “ป่าน” (สายป่าน อภิญญา สกุลเจริญสุข) - - “ป่าน” เป็นน้องสาวของครอบครัว เป็นวัยรุ่นที่ค่อนข้างจะติดเพื่อน รักความสนุก ใช้ชีวิตเต็มที่ แต่ลึกๆแล้ว ก็รักแม่ รักพี่สาวมาก แต่แสดงออกไม่ค่อยเป็น “ต่อ” (ต่อพงษ์ กุลอ่อน) - - “ต่อ” คนขับรถพยาบาล ที่พาร่างไร้ลมหายใจของแม่ “ปิ่น” และ “ป่าน” เดินทางจากกรุงเทพฯ กลับบ้านเกิดที่ ปาดังเบซาร์ เป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางสู่จุดเริ่มต้นของความเข้าใจนี้

DIRECTOR STATEMENT

จากการที่ได้รับฟังเรื่องราวของเพื่อนของคนหนึ่ง ถึงคืนวันที่แม่ของเขาประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตและเรื่องราวของครอบครัวของเขา ทำให้ผมเกิดคำถามถึงความสัมพันธ์ของครอบครัวของผู้คนในเมืองใหญ่ ว่าทำไมในปัจจุบันนี้ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวถึงได้ห่างกันมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งเราอายุมากขึ้นเท่าไหร่ก็ยิ่งเหมือนกับเป็นการผลักไสให้เราห่างจากคนในครอบครัวของเรากันมากขึ้นเท่านั้น หรือนี่เป็นเพียงธรรมชาติของผู้คนในยุคสมัยนี้ ที่ทุกคนให้ความสนใจแต่กับผู้คนทั่วไปที่รายล้อมเราอยู่ตรงหน้า พยายามทำให้ตัวเราให้เป็นจุดสนใจต่อคนอื่นๆ เพียงแค่เพราะอยากที่จะมีที่ยืนและอยากที่จะเป็นที่ยอมรับในสังคม หรือเป็นเพราะเพียงแค่เราอยากทำอะไรตามใจตัวเองก็แค่นั้น แต่ความคิดเหล่านี้กลับทำให้เราลืมนึกถึงคนที่รักเราอย่างไม่มีเงื่อนไข คนที่เราจากมา คนที่รอวันที่เราจะกลับไปหา จากคำถามเหล่านี้ทำให้ผมเริ่มที่จะเขียนบทภาพยนตร์เรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อที่จะเป็นการหาถึงเหตุผลและคำตอบให้กับตนเองถึงปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น และที่สำคัญเราจะหาทางแก้ไขสิ่งที่มันเกิดขึ้นไปแล้วได้อย่างไร ในภาพยนตร์เรื่องนี้จะเล่าให้เห็นถึงว่าทำไมความสัมพันธ์ของครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวหนึ่งถึงได้แย่ลงเรื่อยๆ ตามกาลเวลาที่ผ่านไป โดยที่มีแม่เพียงคนเดียวที่ยังคอยพยายามประคับประคองสิ่งที่เรียกว่าครอบครัวเอาไว้ แต่แล้ววันหนึ่งเมื่อแม่ต้องจากไปอย่างกระทันหัน สมาชิกในครอบครัวทุกคนถูกสถานการณ์บังคับให้ต้องกลับมาใช้เวลาร่วมกันอีกครั้ง เหตุการณ์นี้ทำให้พวกเขาเข้าใจและรับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับความสัมพันธ์ของครอบครัวของพวกเขา และพวกเขาจะต้องพยายามที่จะหาคำตอบว่าจะทำอย่างไรในการที่จะทำให้สิ่งที่เสียไปแล้วกลับคืนมาเหมือนเมื่อครั้งยังเยาว์วัย จะมีใครเข้าใจไหมว่าเพียงแค่การเปิดใจให้กัน คนในครอบครัวก็พร้อมที่จะให้อภัยให้เราได้ทุกเรื่อง และสิ่งที่เราคิดว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่เราพยามเก็บเอาไว้คนเดียว ก็อาจจะเป็นเรื่องเล็กน้อยสำหรับคนอื่นและเขาก็อาจจะมีวิธีง่ายๆที่จะแก้ปัญหานั้นๆให้เราก็ได้ อีกทั้งภาพยนตร์เรื่องนี้ยังต้องการที่จะแสดงให้เห็นถึงว่าทำไมสังคมในยุกปัจจุบันนี้ สังคมที่มีความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ มีที่ให้ทุกคนสามารถได้แสดงออกถึงความมีตัวตนอยู่ได้อย่างง่ายดาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ควรจะทำให้ผู้คนเข้าใจกันได้ง่ายมิใช่หรือ แต่ทำไมปฏิสัมพันธ์ของผู้คนในเมืองใหญ่ที่มีต่อกันถึงได้น้อยลงไปเรื่อยๆ และมีจำนวนคนเหงาและโดดเดี่ยวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ไปตามกระแสการพัฒนาของสังคม

ผู้กำกับและเขียนบทภาพยนตร์

ต้องปอง จันทรางกูร

ประวัติและผลงานที่ผ่านมา

ต้องปอง จันทรางกูร จบการศึกษาปริญญาโทด้านภาพยนตร์จาก The London Film School ที่ประเทศอังกฤษในปี 2551 ภาพยนตร์สั้นปริญญานิพนธ์เรื่อง Wings of Blue Angels ของเขาได้รับรางวัล Trailblazer Award  จากเทศกาลภาพยนตร์ Edinburgh International Film Festival ครั้งที่ 62 ทั้งยังได้รับเลือกให้เข้าประกวดและเข้าร่วมประกวดและ ฉายในเทศกาลภาพยนตร์อื่นๆอีกหลายเทศกาลทั้งในและต่างประเทศ ในวัยเด็กเขามักใช้เวลาว่างหมดไปกับการชมภาพยนตร์มากกว่าที่จะไปทำอย่างอื่น จนในที่สุดภาพยนตร์ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้เขาเลือกเข้าศึกษาปริญญาตรีทางด้านภาพยนตร์ที่มหาวิทยาลัยรังสิต หลังจากที่จบการศึกษาแล้ว เขาได้เข้าร่วมงานกับบริษัท Soho Asia Post Production ในฐานะ Telecine Colourist นานกว่า 2 ปีก่อนที่จะตัดสินใจไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษในปี 2549 หลังจากที่กลับมาจากประเทศอังกฤษแล้ว เขาได้มีโอกาสร่วมงานกับผู้กำกับชาวญี่ปุ่น Naomi Kawase ในภาพยนตร์ “7 Nights” โดยต้องปอง รับหน้าที่เป็น Post Production Supervisor  ให้กับภาพยนตร์เรื่องนี้ นอกเหนือจากนั้นเขายังได้ร่วมงานกับทั้งภาพยนตร์สั้นและภาพยนตร์โฆษณาอีกหลายเรื่องอีกด้วย ในขณะเดียวกันก็ได้เริ่มเขียนบทภาพยนตร์เรื่อง I carried you home ร่วมกับเพื่อนๆในปี 2551 และหลังจากนั้นบทภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ได้รับรางวัลจาก   Asian Cinema Fund,  Script Development Fund จาก Pusan International Film Festival ในปี 2552

ผลงานที่สำคัญ

- MV “ COLLARGEN ” DIRECTOR ของวง โยคีเพลย์บอย - Wings of Blue Angels  DIRECTOR/ WRITER 35 mm, short, LFS and Local Color Film (2007) - Official selected Edinburgh Film Festival 2008, Trailblazer Award, Scotland - In competition, Taipei Film Festival 2008 , Taiwan - In competition, 10th International Student Film Festival 2008, Serbia - In competition, Asian American Film Festival 2008, New York - In competition, World Student Film Festival 2008, Poland - International Film festival Etiuda&Anima 2008, Poland - Another Beginning DIRECTOR/ CO- WRITER 35 mm, short, LFS (2006) - Bangkokian DIRECTOR/ WRITER/ EDITOR 16 mm, short, Independent (2001) - Official selected 6th Thai Short Film & Video Festival - National award, finalist for short film 2001

การเดินทางของ ปาดังเบซาร์

มีนาคม 2551 ทีมเขียนบท ต้องปอง จันทรางกูร, ปราเมศร์ ชาญกระแส และ ปิยะกานต์ บุตรประเสริฐ เริ่มต้นเขียนโครงเรื่อง ตุลาคม 2551 บทภาพยนตร์ “ปาดังเบซาร์” ได้รับทุนพัฒนาบท Script Development Fund จาก Asian Cinema Fund, Pusan International Film Festival 2008 ประเทศ เกาหลีใต้ ซึ่งเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ได้รับทุนพัฒนาบทจาก Asian Cinema Fund พฤษภาคม 2553 ผู้กำกับและโปรดิวส์เซอร์ ได้รับคัดเลือกให้ไปพบปะหาผู้สนับสนุน และร่วมลงทุนที่ Cannes Internatinal Film Festival 2010 ประเทศ ฝรั่งเศษ ภายใต้โครงการ Thai Film Pitching 2 กลางปี 2553 บทภาพยนตร์ “ปาดังเบซาร์” เสร็จสมบูรณ์ กรกฎาคม 2553 ภาพยนตร์ “ปาดังเบซาร์” ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุน ไทยเข้มแข็ง โดยสำนักงานศิลปะวัฒนธรรมร่วมสมัย, กระทรวงวัฒนธรรม มีค. - มิย. 2554 ช่วงของการถ่ายทำ สค. - กย. 2554 ภาพยนตร์ “ปาดังเบซาร์” ได้รับทุน Post Production Fund จาก Asian Cinema Fund, Pusan International Film Festival 2011 ประเทศ เกาหลีใต้ ให้ผู้กำกับ และทีมงานบางส่วนได้ไปทำงานที่กรุงโซล ในขั้นตอนทำงานหลังการถ่ายทำเช่น แก้สี, mix เสียง และ print film เป็นขั้นตอนสุดท้ายจนภาพยนตร์เสร็จสมบูรณ์ ตุลาคม 2554 ภาพยนตร์ “ปาดังเบซาร์” ได้รับเลือกให้เข้าประกวดในสาย New Current Award ของ  Pusan International Film Festival 2011 ประเทศเกาหลีใต้ และเป็นการฉายรอบปฐมทัศโลก (World premier) อีกด้วย พฤศจิกายน 2554 ภาพยนตร์ “ปาดังเบซาร์” ได้รับเลือกให้เข้าประกวดในเทศกาล International Film Festival of Marrakech 2011 มกราคม 2555 ภาพยนตร์ “ปาดังเบซาร์” ได้รับเลือกให้เป็นภาพยนตร์เปิดเทศกาล World Film Festival, Bangkok ที่ Paragon Cineplex, Siam Paragon กุมภาพันธ์ 2555 ภาพยนตร์ “ปาดังเบซาร์” ได้รับเลือกให้เข้าฉายในสาย Bright Future ของเทศกาลภาพยนตร์ International Film festival Rotterdam 2012 ถือเป็นการเข้าฉายครั่งแรกใน ยุโรป (Europian Premier) มีนาคม 2555 ภาพยนตร์ “ปาดังเบซาร์” ได้รับเลือกให้เข้าประกวดในเทศกาล Du Festival Du Film Asiatique De Deauville เมือง Deauville ประเทศฝรั่งเศษ ไตรมาสที่ 3 2555 ภาพยนตร์ “ปาดังเบซาร์” จะเข้าฉายในรอบภาพยนตร์ปรกติ ที่ประเทศฝรั่งเศส