HIGHLIGHT CONTENT

เจาะลึกการสร้างฉากขึ้นบินของกัปตันซัลลี่ เหตุสุดระทึก ทำยังไงให้สมจริงที่สุด

  • 20,357
  • 14 ก.ย. 2016

เจาะลึกการสร้างฉากขึ้นบินของกัปตัน ซัลลี่ 
เหตุสุดระทึก ทำยังไงให้สมจริงที่สุด

 

 

ฉากภายนอกของ “Sully” ถ่ายทำจากสถานที่จริงในนครนิวยอร์กเป็นส่วนใหญ่ คงไม่มีที่ไหนเหมาะแก่การจำลองเหตุการณ์ในวันนั้นขึ้นมาใหม่มากไปกว่าแม่น้ำฮัดสันและท่าเรือโดยรอบซึ่งเป็นประจักษ์พยานของเหตุการณ์อย่างแท้จริง

เพื่อถ่ายทอดบทออกมาเป็นภาพยนตร์ อีสต์วูดทำงานกับทีมงานเบื้องหลังที่คุ้นเคยกันดีอย่างผู้กำกับภาพ ทอม สเติร์น, นักออกแบบงานสร้าง เจมส์ เจ มุราคามิ, นักออกแบบเครื่องแต่งกาย เดโบราห์ ฮอปเปอร์ และมือตัดต่อบลู เมอร์เรย์ ทีมงานใช้กล้อง ARRI ALEXA 65 แบบพิเศษของ IMAX ในการถ่ายทำส่วนใหญ่และใช้กล้อง RED สำหรับการถ่ายทำกองสองและการถ่ายทำภาพทางอากาศ การถ่ายทำเริ่มต้นขึ้นในช่วงต้นฤดูใบไม้ร่วงปี 2015 ที่โรงเก็บเครื่องบินในเมืองเคิร์นนี รัฐนิวเจอร์ซีย์ ในฉากที่ผู้แสดงเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยดำน้ำของกองตำรวจนิวยอร์กกระโดดขึ้นเฮลิคอปเตอร์ซึ่งจอดรออยู่หลังจากได้รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน

นอกจากชาวนิวยอร์กแล้ว การทำงานร่วมกับฝ่ายต่างๆ อาจไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไป ทิม มัวร์อธิบายว่า “NY Waterways สำคัญกับเรามากเพราะบริษัทนี้แล่นเรือข้ามฟากราวเก้าลำอยู่รอบเครื่องบินในเหตุการณ์ปี 2009 แต่ด้วยธุรกิจที่ทำอยู่ รวมถึงการที่ว่าเราถ่ายทำกันในช่วงที่ยุ่งที่สุดของปี และพระสันตะปาปาทรงมาเยือนนิวยอร์กและสหประชาชาติก็กำลังจัดประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากเกือบทุกประเทศทั่วโลก...ดังนั้นจึงค่อนข้างยากในแง่ลอจิสติกส์ แต่พวกเขาก็ยังอุตส่าห์มาและช่วยเราได้อย่างมากเลยครับ”

สภาพลมฟ้าอากาศไม่ค่อยจะเป็นใจนักระหว่างการถ่ายทำในนิวยอร์ก ทว่ามันกลับส่งผลลัพธ์ในเชิงบวก “สภาพอากาศช่วยให้เราได้ภาพอย่างที่คลินต์ต้องการ” มัวร์ยิ้ม

 

 

ห้องควบคุมของเครื่องบิน A320สร้างขึ้นที่โรงถ่าย 19 ของสตูดิโอ Warner Bros.โดยฉากนั้นตั้งอยู่บนโครงสร้างแกนหมุน แต่เนื่องจากมีแท็งก์น้ำไม่กี่แห่งในฮอลลีวูดที่สามารถรองรับเครื่องบินความยาว 140 ฟุตได้ ทีมผู้สร้างจึงยินดีเดินทางไปยังทะเลสาบฟอลส์ที่สตูดิโอของ Universal ซึ่งอยู่ใกล้กัน ที่นั่นไม่เพียงแต่มีพื้นที่พอสำหรับเครื่องบินแอร์บัสแต่ทีมงานยังสามารถสร้างส่วนหน้าของเรือข้ามฟากให้เข้ากับช็อตมุมกว้างที่ถ่ายมาจากนิวยอร์ก

โดยผู้ควบคุมวิชวลเอฟเฟ็กต์ ไมเคิล โอเวนส์จะเพิ่มเครื่องบินเข้าไปในภายหลัง ระหว่างเครื่องบินอยู่บนแม่น้ำฮัดสันนั้นตัวเครื่องลาดเอียงลงโดยส่วนหลังของห้องโดยสารจมน้ำไปแล้วครึ่งหนึ่ง ทีมงานใช้โครงสร้างแกนหมุนขนาด 350 ตันซึ่งใหญ่กว่าที่ใช้ในฉากห้องควบคุมมากเพื่อที่จะเอียงเครื่องบินไปด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้าง โครงสร้างนี้ยังช่วยให้ทีมงานสามารถปรับเครื่องบินให้สูงขึ้นและต่ำลงเพื่อจำลองฉากที่เครื่องค่อยๆ จม ขณะที่ผู้โดยสารกำลังออกจากห้องโดยสาร ตอนที่ผู้โดยสารคนแรกๆ ไปอยู่ที่ปีก ที่ตรงนั้นยังแห้งอยู่ แต่เมื่อหน่วยกู้ภัยมาถึง ผู้โดยสารกำลังยืนอยู่ในน้ำสูงสองฟุตแล้ว

นับจากเกิดเหตุการณ์ สายการบิน US Airways ได้ถูกซื้อกิจการไปโดยสายการบิน American Airlines ซึ่งสจ๊วร์ตกล่าวว่า “ช่วยเหลือเราเป็นอย่างดีในการรวบรวมชิ้นส่วนเครื่องบินที่เราต้องการ ทางสายการบินยินดีที่ได้มีส่วนร่วมเพราะนี่เป็นความทรงจำอันน่าทึ่งสำหรับทุกคนในวงการนี้ ในประวัติศาสตร์การบินที่ผ่านมาเหตุการณ์ครั้งนี้นับเป็นเหตุการณ์ที่พิเศษสุดและจบลงอย่างสวยงามด้วย”

 

 

ซัลลี่ ปาฎิหาริย์ที่แม่น้ำฮัดสัน

  • 08 September 2016
  • Adventure / ชีวิต /
  • 96 นาที
15+

ข่าวที่เกี่ยวข้อง