HIGHLIGHT CONTENT

ทำได้ยังไง? เปิดวิธีการสร้างฉากระเบิดนิวเคลียร์ใน Oppenheimer โดยไม่ใช้ซีจีไอของ คริสโตเฟอร์ โนแลน

  • 717
  • 12 มี.ค. 2024

ทำได้ยังไง? เปิดวิธีการสร้างฉากระเบิดนิวเคลียร์ใน Oppenheimer

โดยไม่ใช้ซีจีไอของ คริสโตเฟอร์ โนแลน

 

 

ภาพยนตร์ Oppenheimer หรือ ออพเพนไฮเมอร์ ของ คริสโตเฟอร์ โนแลน เป็นการฉายภาพที่ยอดเยี่ยมของชายผู้ซับซ้อนและอิทธิพลของเขาที่มีต่อโลกใบนี้ผ่านผลงานในโครงการแมนแฮตตัน เจ. โรเบิร์ต ออพเพนไฮเมอร์ เป็นฟิสิกส์ทฤษฎีชื่อดังที่มีส่วนร่วมเป็นอย่างมากในการคิดค้นระเบิดปรมาณู โดยเขาเป็นหัวหน้าของโครงการ ลอส อลามอส ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองและเป็นผู้ถูกมอบหมายโดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกาให้พัฒนาระเบิดปรมาณูที่จะช่วยหยุดสงครามครั้งนี้ลงได้ ซึ่งก็นำไปสู่การทดสอบทริตินี ที่จะเป็นความสำเร็จครั้งแรกของมนุษยชาติในการจุดระเบิดอุปกรณ์ปรมาณู

การทดสอบทรินิตีถือเป็นจุดสำคัญของเรื่องราวทั้งหมดในภาพยนตร์ ทั้งกระบวนการทำงานทั้งหมดที่นำไปสู่การระเบิดครั้งแรก และผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น ทั้งในทางการเมือง, ทางศีลธรรม และทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับ ออพเพนไฮเมอร์ และเพื่อที่จะทำให้มั่นใจว่าทุกอย่างจะออกมาสมจริงอย่างที่สุด คริสโตเฟอร์ โนแลน ก็ได้มอบหมายหน้าที่ให้กับ แอนดรูว์ แจ็กสัน หัวหน้าฝ่ายเทคนิคพิเศษทางภาพของเขาให้ลองคิดค้นวิธีการจะสร้างเมฆรูปดอกเห็ดและลูกระเบิดเพลิงขึ้นมาให้ได้ โดยไม่ต้องใช้ภาพที่สร้างขึ้นจากคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นอะไรที่ โนแลน พยายามจะหลีกเลี่ยงมาโดยตลอด

 

 

โนแลน เป็นคนที่เชื่อมาโดยตลอดว่า เพื่อที่จะถ่ายทอดความน่าหวาดหวั่นของสิ่งที่เกิดขึ้น เอฟเฟคที่สามารถทำได้จริงจึงเป็นเรื่องสำคัญ ในการสัมภาษณ์กับทาง เดอะ ฮอลลีวูด รีพอร์เตอร์ ยอดผู้กำกับได้พูดถึงการใช้ภาพที่สร้างขึ้นจากคอมพิวเตอร์ว่า

 

“มันมีความสบายเมื่อมองดูมัน มันปลอดภัย มันยาแก้ปวด และสิ่งที่ผมบอกกับ แอนดรูว์ เกี่ยวกับ ออพเพนไฮเมอร์ ก็คือ ‘มันจะดูปลอดภัยไม่ได้ มันไม่สามารถที่จะดูได้อย่างสบายใจ มันต้องโจมตีเรา มันต้องมีทั้งความสวยงามและคุกคามอย่างเท่า ๆ กัน’”

 

 

ส่วนสิ่งที่ได้เห็นในภาพยนตร์ก็ออกมาทั้งสวยงามและน่าหวาดหวั่นอย่างที่ โนแลน ต้องการ โดยในการให้สัมภาษณ์กับอินดี้ไวร์ของ แจ็คสัน ได้เจาะลึกลงไปในรายละเอียดที่ทีมเอฟเฟคพิเศษได้สร้างขึ้นมา โดยใช้กระบวนการที่อาจจะดูง่ายแต่ก็น่าทึ่ง ด้วยการใช้ทั้ง นํ้ามันเบนซิน, โพรเพน, แม็กนีเซียม และผงอลูมิเนียม เพื่อที่จะสร้างสิ่งที่ยอดผู้กำกับชาวอังกฤษต้องการขึ้นมา

 

“ต้องเผาเชื้อเพลิงกันเยอะมากเพื่อที่จะให้มันมีรูปร่างออกมาเหมือนดอกเห็ด”

“เราตั้งมันไว้ระหว่างหอคอยที่ถูกสร้างขึ้นมาและกล้องถ่ายทำ เพื่อที่จะให้มันมีขนาดใหญ่ขึ้นด้วยการดึงมาอยู่ใกล้กล้องมากขึ้น”

“เราถ่ายมันจากหลากหลายระยะ แล้วในกระบวนการหลังถ่ายทำ เราก็นำเอาองค์ประกอบเหล่านั้นมาทำให้ช้าลง เพื่อที่จะทำให้มันดูใหญ่ขึ้นมากกว่าที่เป็น แล้วก็นำเอามันมาซ้อนทับกันเป็นชั้น ๆ เพื่อที่เราจะสามารถสร้างเหตุการณ์ใหญ่จากชิ้นส่วนเล็ก ๆ ได้”

 

Oppenheimer หรือ ออพเพนไฮเมอร์ กลับมาเข้าฉายในโรงภาพยนตร์อีกครั้งแล้ววันนี้

 

สำหรับแฟนหนังเมเจอร์ ห้ามพลาดกับบัตรดูหนังสุดคุ้ม M PASS ที่จะทำให้คุณคุ้มเต็มอิ่มกับการดูหนังตลอดทั้งปี เตรียมไปมันส์กับกองทัพหนังดังมากมาย สมัครง่ายๆเพียงแค่คลิก ที่นี่ 

ขอบคุณข้อมูลจาก Collider

ออพเพนไฮเมอร์

  • 25 January 2024
  • Adventure / ชีวิต /
  • 180 นาที
15+

ข่าวที่เกี่ยวข้อง