HIGHLIGHT CONTENT

เผยความลับเทคนิคงานสร้างมหัศจรรย์ จาก ‘สตีเวน สปีลเบิร์ก’ เนรมิตหนังยักษ์ THE BFG ให้โลกตะลึงอีกครั้ง

  • 16,648
  • 05 ก.ค. 2016

เผยความลับเทคนิคงานสร้างมหัศจรรย์ จาก ‘สตีเวน สปีลเบิร์ก’
เนรมิตหนังยักษ์ THE BFG ให้โลกตะลึงอีกครั้ง

 

 

สตีเวน สปีลเบิร์กมีชื่อเสียงในการผสมผสานการเล่าเรื่องและเทคโนโลยีด้วยกันมานานแล้ว เขาเป็นทั้งผู้ชื่นชอบการสร้างภาพยนตร์ตามแนวทางเดิมและเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนเทคโนโลยีในการถ่ายทำใหม่ๆ คนสำคัญ ผู้ช่วยสร้างและขัดเกลาเครื่องมือที่ปลุกจินตนาการในการเล่าเรื่องให้มีชีวิตขึ้นมาสำหรับผู้ชมหลายรุ่น
ในการหาวิธีที่ดีที่สุดในการถ่ายทำองค์ประกอบไลฟ์แอ็กชันและเพอร์ฟอร์แมนซ์ แคปเจอร์พร้อมๆ กันตลอดทั้งเรื่อง และทำให้พวกมันผสมผสานกันได้อย่างแนบเนียน ทีมผู้สร้างได้สร้างเวอร์ชันพรีวิชวลไลซ์ของภาพยนตร์ทั้งเรื่องขึ้นมาก่อนที่การถ่ายทำจะเริ่มต้นขึ้นด้วยซ้ำ

 

 

สปีลเบิร์กได้รวมรวมทีมงานหลายคนและผู้ช่วยกองถ่ายบางส่วนในโรงรถที่บ้านฤดูร้อนของเขาทางฝั่งตะวันออกและได้ออกแบบ บล็อกและถ่ายทำแต่ละฉากภายในโลกดิจิตอล ในการใช้กล้องแฮนด์เฮลด์ขนาดเล็ก ผู้ช่วยกองถ่ายในชุดเพอร์ฟอร์แมนซ์ แคปเจอร์ และอนิเมชันแบบหยาบๆ ฟุตเตจแบบความละเอียดต่ำจะถูกเรนเดอร์เป็น 3D เพื่อที่มันจะได้ถูกแยกส่วนและวิเคราะห์เมื่อเสร็จสมบูรณ์

“มันกลายเป็นต้นแบบของผมสำหรับหนังเรื่องนี้และช่วยผมให้รับรู้ถึงเรื่องราวและตัดสินใจเรื่องวิธีการที่ดีที่สุดในการเล่าเรื่องครับ” สปีลเบิร์กกล่าว “มันเป็นหนึ่งในการซ้อมที่มีค่าที่สุดที่ผมได้เข้าร่วม และมันก็ช่วยทำให้ผมเข้าใจถึงดีเอ็นเอที่ฝังรากลึกที่สุดของเรื่องราวนี้ครับ”

เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด

    การถ่ายทำ “The BFG” เริ่มต้นขึ้นในฤดูใบไม้ผลิปี 2015 ชานเมืองแวนคูเวอร์ ในโกดังเก่าๆ ที่ซึ่งพื้นที่มืดๆ ขนาดใหญ่กลายเป็นสเตจสำหรับก่อสร้างฉากขึ้นมา

    สำหรับ “The BFG” ทีมผู้สร้างได้คิดแนวทางใหม่เพื่อขยายขอบเขตในการบอกเล่าเรื่องราวด้วยการเชื่อมต่อช่องว่างระหว่างความสมบูรณ์และชีวิตชีวาของไลฟ์แอ็กชันและความเป็นไปได้ที่ไร้ขีดจำกัดของเทคโนโลยีดิจิตอลร่วมสมัย มันเป็นกระบวนการที่จะเกิดขึ้นผ่านเลนส์ของสิ่งที่สปีลเบิร์กต้องการใช้บอกเล่าเรื่องราว

    แทนที่จะบันทึกภาพการแสดงแยกต่างหากแล้วค่อยผสมผสานการแสดงของนักแสดงมนุษย์และดิจิตอลเข้าด้วยกันในขั้นตอนโพสต์โปรดักชัน พวกเขาเลือกใช้งานโจ เล็ทเทอรีจากเวตา ดิจิตอลและทีมงานพรสวรรค์ของเขาในการคิดกระบวนการใหม่ที่จะใกล้เคียงกับการถ่ายทำไลฟ์แอ็กชันมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

    ผลทำให้การถ่ายทำ “The BFG” เป็นสไตล์การถ่ายทำลูกผสมที่ใช้การผสมผสานระหว่างเทคนิคไลฟ์แอ็กชันและเพอร์ฟอร์แมนซ์ แคปเจอร์ ในการเนรมิตชีวิตให้กับตัวละครมหัศจรรย์ของเรื่อง ในกองถ่ายจริงๆ ที่ถูกสร้างขึ้นเป็นพิเศษเพื่อภาพยนตร์เรื่องนี้
    เล็ทเทอรี (“Batman vs. Superman: Dawn of Justice,” “Avatar”) ผู้ซึ่งความสัมพันธ์กับสปีลเบิร์กเริ่มตั้งแต่ปี 1993 ด้วย “Jurassic Park” ที่เขาทำหน้าที่นักวาดภาพคอมพิวเตอร์ กราฟิก กล่าวว่า “เราอยากให้สตีเวนสามารถทำงานได้ในฐานะสตีเวน ให้เขาได้ใช้องค์ประกอบทั้งหมดที่เขานำมาสู่กระบวนการนี้ ทั้งทีมงาน ฉากไลฟ์แอ็กชัน แสงและเครื่องแต่งกาย พร้อมไปกับการสร้างโลกเสมือนจริงขึ้นมาครับ”

 

 

เขากล่าวต่อว่า “เกือบตลอดทั้งเรื่อง โซฟีเป็นเด็กหญิงตัวน้อยในโลกแฟนตาซี ที่พวกยักษ์อาศัยอยู่ แต่เราก็ทำให้สตีเวนสามารถถ่ายทำหนังเรื่องนี้ได้เหมือนกับทุกอย่างเป็นไลฟ์แอ็กชันเพื่อเชื่อมต่อช่องว่างระหว่างโลกเสมือนจริงและโลกดิจิตอล” ภาพยนตร์ก่อนหน้านี้ที่ใช้เทคโนโลยีเพอร์ฟอร์แมนซ์ แคปเจอร์อย่าง “Avatar” หรือ “The Adventures of Tin Tin” ถูกถ่ายทำในฉากว่างเปล่าที่ซึ่งนักแสดงจะต้องจินตนาการสภาพแวดล้อมรอบด้านเอาเอง

นอกจากนี้ ผู้กำกับยังอาศัยซิมูลแคม ซึ่งเป็นไอเดียที่ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกโดยผู้กำกับเจมส์ คาเมรอนใน “Avatar” ซิมูลแคมเป็นกระบวนการในการผสมผสานนักแสดงและฉากจริงๆ กับนักแสดงและฉากที่ถูกสร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ เล็ทเทอรีอธิบายว่า “ซิมูลแคมทำให้เราสามารถบันทึกการแสดงเอาไว้ก่อนแล้วค่อยฉายมันตรงมอนิเตอร์ เพื่อที่ผู้ควบคุมกล้องจะได้เห็นการแสดงเสมือนจริงปรากฏขึ้นแบบเรียลไทม์ระหว่างที่พวกเขากำลังถ่ายทำฉากไลฟ์แอ็กชันอยู่ การผสมผสานภาพทั้งสองแบบจะทำให้พวกเขาสามารถตัดสินใจ กำหนดเฟรม และจัดลำดับแอ็กชันตามสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกเสมือนจริงได้ครับ”

กระบวนการใหม่นี้ทำให้ผู้กำกับมีโอกาสได้ถ่ายทำนักแสดงในชุดเพอร์ฟอร์แมนซ์ แคปเจอร์ ที่แสดงในฉากเดียวกับตัวละครมนุษย์ของเรื่อง และมันก็เป็นสิ่งสำคัญเป็นพิเศษสำหรับสปีลเบิร์กที่รูบี้ บาร์นฮิลและมาร์ค ไรแลนซ์จะมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน

 

ยักษ์ใหญ่หัวใจหล่อ

  • 07 July 2016
  • Adventure / ผจญภัย / แฟนตาซี /
  • 118 นาที
15+

ข่าวที่เกี่ยวข้อง