HIGHLIGHT CONTENT

“สาหร่ายทอดกรอบ” ปลอดภัยบริโภคได้ไร้สารปนเปื้อน

  • 9,236
  • 15 ม.ค. 2014
  แพทย์ย้ำ “สำหร่ายทอดกรอบ” บริโภคได้ หลังสังคมออนไลน์กระหน่ำส่งต่อเมลแพร่ข้อมูลเด็กสาวกินมากเกินทำตาพร่ามัว ไตวาย เผยผลสำรวจทั้งประเทศพบโซเดียมเฉลี่ย 100 มิลลิกรัมเท่านั้น สามารถบริโภคได้ ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีการส่งต่อข้อความผ่านทางสังคมออนไลน์ ระบุว่า มีเด็กสาวบริโภคสาหร่ายเป็นประจาทุกวันติดต่อกันนานกว่า 6 เดือนและเกิดตาพร่ามัว ม่านตาเสีย เลนส์ตาเสื่อม และไตพัง ซึ่งแพทย์แจ้งว่าเกิดจากการบริโภคเกลือและโซเดียมกลูตาเมทนั้น ที่ผ่านมายังไม่มีงานวิจัยใด แสดงถึงการบริโภคขนมขบเคี้ยวประเภทสาหร่าย แล้วได้รับปริมาณโซเดียมมากเกินไป ซึ่งสาหร่ายทอดกรอบมี ปริมาณโซเดียมเฉลี่ย 100 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค หากบริโภคเฉลี่ยวันละ 4 ซอง จะได้รับปริมาณโซเดียมราว 400 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งยังอยู่ในปริมาณที่ร่างกายสามารถรับได้ที่เฉลี่ยวันละ 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน สอดคล้องกับความเห็นของนักโภชนาการที่แนะนำให้บริโภคขนมขบเคี้ยวที่มีปริมาณ โซเดียมไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค โดยร่างกายก็จะขับโซเดียมออกผ่านทางการปัสสาวะ ดังนั้น หากบริโภคเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน 6-8 เดือน ย่อมไม่ส่งผลต่อร่างกาย เหตุการณ์ดังเช่นที่เกิดขึ้นในสังคมออนไลน์จึงไม่ใช่เกิดจากการบริโภคสาหร่ายทอดกรอบ จึงอยากแนะนาให้ผู้ที่ประสบเหตุ ควรปรึกษาแพทย์และตรวจร่างกายให้ละเอียด เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อร่างกายหากป่วยเป็นโรคร้ายแรง แต่อย่างไรก็ดี การบริโภคอาหารที่หลากหลายและครบถ้วนตามหลักโภชนาการถือว่ามีประโยชน์ต่อ ร่างกายมากที่สุด ทั้งนี้ จากรายงานวิจัย “สถานการณ์การแสดงข้อมูลโภชนาการและปริมาณโซเดียมบนฉลากอาหารในผลิตภัณฑ์ อาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที” จัดทำโดย สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกับเครือข่ายลดบริโภคเค็ม ซึ่งสำรวจสถานการณ์การแสดงข้อมูลโภชนาการและปริมาณโซเดียมบนฉลากอาหารใน ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันทีที่มีจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า และร้านสะดวกซื้อรวม 9 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2555 มีจำนวนทั้งสิ้น 3,281 ผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์อาหารส่วนใหญ่มีการแสดงปริมาณโซเดียมบนฉลากโภชนาการอยู่ในช่วง 0–300 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค จานวน 1,618 ผลิตภัณฑ์ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90.8 ส่วนใหญ่พบในกลุ่มขนมขบเคี้ยว ได้แก่ ขนมปังกรอบ แครกเกอร์ บิสกิต เวเฟอร์ ปลาเส้น และสาหร่ายปรุงรส เป็นต้น กลุ่มอาหารกึ่งสำเร็จรูปที่มีปริมาณ โซเดียมมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป คือมีโซเดียมเฉลี่ย 2,000 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ขณะที่กลุ่มขนมขบเคี้ยว พบว่า ผลิตภัณฑ์ประเภทปลาเส้น มีปริมาณโซเดียมที่แสดงบนฉลากโภชนาการอยู่ในช่วง 310–900 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ผลิตภัณฑ์ประเภทถั่ว มีปริมาณโซเดียมที่แสดงบนฉลากโภชนาการอยู่ในช่วง 10–240 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ผลิตภัณฑ์ประเภทคุกกี้ มีปริมาณโซเดียมที่แสดงบนฉลากโภชนาการอยู่ในช่วง 0–220 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ผลิตภัณฑ์ประเภทสาหร่ายมีปริมาณโซเดียมที่แสดงบนฉลากโภชนาการอยู่ในช่วง 0–250 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค