HIGHLIGHT CONTENT

ชีวิตบนดาวอังคาร...วัทนีย์ ทำยังไงให้อยู่รอดนานกว่า9เดือน แดนโหดใน THE MARTIAN

  • 20,475
  • 29 ก.ย. 2015

ชีวิตบนดาวอังคาร...วัทนีย์ ทำยังไงให้อยู่รอดนานกว่า9เดือน
แดนโหดใน THE MARTIAN 

 

 

                ดาวอังคารเป็นสถานที่ซึ่งไม่ต้อนรับใคร ระดับอุณหภูมิที่มีขอบเขตกว้างจาก -153C ถึงราวๆ 22Cในช่วงหน้าร้อน ทำให้การเลือกเสื้อผ้าเป็นเรื่องยากทีเดียว(ถึงใส่เสื้อซ้อนกันหลายชั้นก็คงไม่ช่วยอะไรสักเท่าไหร่)การหายใจยิ่งเป็นปัญหาหนักเข้าไปใหญ่ อากาศมีคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ 95 เปอร์เซ็นต์ ดินขาดแบคทีเรียที่จำเป็นต่อการปลูกพืชผล มีน้ำแต่ว่าอยู่ในรูปน้ำแข็งเท่านั้น แม้กระทั่งสีออกแดงของดาวดวงนี้ก็ยังเป็นป้ายคำเตือนว่า ที่นี่ไม่มีอะไรให้คุณหรอกนะนอกจากความตายเพราะขาดอากาศหายใจและภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ แต่มนุษย์ไม่เคยหยุดยั้งการเดินทางไปยังสถานที่ซึ่งไม่ต้องการเรา เราก็เลยไปดาวอังคารกัน

การสร้างแหล่งที่อยู่อาศัยจำลอง (แฮ็บ) เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการสำรวจดาวอังคารของมนุษย์ ใน THE MARTIAN องค์การNASA/JPL ใช้เวลาสี่ปีส่งยานที่ไม่มีมนุษย์ไปทิ้งชิ้นส่วนสำเร็จรูปเพื่อประกอบเป็นแฮ็บขึ้นมา รวมถึงสัมภาระต่างๆ ทั้งอาหารและเครื่องมืออุปกรณ์ ลูกเรือAres IIIจะได้มาพบสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างคอมพิวเตอร์ อาหารเย็นสำหรับวันขอบคุณพระเจ้า และรถเอทีวีสุดเท่ที่มีชื่อว่าโรเวอร์ นอกจากนี้ยานพาหนะที่เรียกว่า Mars Ascent Vehicle (MAV) ก็เตรียมพร้อมที่จะนำพวกเขากลับไปยังHermesเมื่อภารกิจนาน 31 โซลสิ้นสุดลง

 

 

               ภายในแฮ็บมีบริเวณที่ใช้นอน พื้นที่ทำงานร่วมกัน ประตูแอร์ล็อคปรับความดันสำหรับการเข้าออก และพื้นที่เก็บอุปกรณ์ขนาดกะทัดรัด รวมถึงอุปกรณ์เพื่อการดำรงชีพ เช่น เครื่องผลิตอ็อกซิเจน เครื่องควบคุมบรรยากาศ และเครื่องบำบัดน้ำเพื่อนำกลับมาใช้ มีอาหารเผื่อเอาไว้ให้นักบินอวกาศหกคนอยู่ได้ 68โซล เมื่อมีแค่วัทนีย์อยู่คนเดียว อาหารส่วนนี้จึงกินได้นาน 400โซลเพียงพอที่จะต่อเวลาออกไปได้ แต่ไม่น่าพอให้รอดไปถึงเวลาที่ทีมช่วยเหลือจะเดินทางมาถึง

วัทนีย์ซึ่งเป็นนักพฤกษศาสตร์มีมันฝรั่งสองสามหัวอยู่ในแฮ็บและคิดหาทางสร้างแบคทีเรียที่จำเป็นเพื่อให้ดินบนดาวอังคารอุดมสมบูรณ์พอสำหรับการปลูกมันฝรั่งเพิ่ม มันฝรั่งธรรมดาๆ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยช่วยให้อารยธรรมรอดจากภาวะอดอยากมาได้ จะต้องมารับบทบาทช่วยหล่อเลี้ยงชีวิตมนุษย์อีกครั้งในดาวอีกดวงหนึ่ง แก้ไปได้หนึ่งปัญหา

 เพื่อพิสูจน์ให้เห็นกันไปเลยว่าขยะขององค์กรหนึ่งอาจกลายเป็นสมบัติล้ำค่าของมนุษย์อีกคนก็ได้ วัทนีย์ใช้รถโรเวอร์ออกไปตามหายานPathfinderที่เลิกใช้งานแล้วและส่งสัญญาณเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อปี 1997 เขาใช้กล้องของยานนี้ผลิตอุปกรณ์เพื่อใช้สื่อสารกับNASAและ JPL ปัญหาข้อที่สองแก้ได้แล้ว และเขายังคิดหาวิธีผลิตอ็อกซิเจนเพิ่มได้อีกด้วย นั่นทำให้ดนตรีดิสโก้ของลูอิสกลายเป็นปัญหาใหญ่ประการเดียวที่เหลืออยู่ ทุกอย่างกำลังไปได้สวย วัทนีย์มีที่พักซึ่งได้รับการปรับความดันและมีอ็อกซิเจน มีอาหารและวิธีผลิตอาหารเพิ่ม มีน้ำและมีความรู้ที่จะผลิตน้ำเพิ่ม เขาติดต่อสื่อสารกับ NASA ได้แล้ว โดยเขาทั้งพูดตลกและสบถสาบานเมื่อไม่เห็นด้วยกับคำสั่งขององค์กร

 

 

  ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด โอกาสที่เขาจะอยู่รอดเพิ่มสูงขึ้นมากนับตั้งแต่เขาดึงชิ้นส่วนเสาอากาศออกมาจากช่องท้องแต่กฎของเมอร์ฟียังคงใช้ได้อยู่เสมอและบางสิ่งก็เกิดผิดพลาดขึ้นจริงๆเหตุการณ์อันน่าหวาดกลัวได้ทำลายผลงานที่วัทนีย์ทุ่มเทมารวมถึงการมองโลกในแง่ดีของเขาด้วย ถึงตอนนี้เวลาก็คืบเข้ามาแล้ว และกำหนดเวลาการส่งทีมช่วยเหลือของ NASA ก็พังทลายไม่มีชิ้นดี

ความเร่งด่วนถูกแทนที่ด้วยความรู้สึกถึงหายนะที่คืบเข้ามาใกล้งานนี้กลายเป็นปฏิบัติการที่ต้องทำงานกันตลอด 24 ชั่วโมงชายผู้ตกอยู่ในอันตราย คนทั่วโลกต่างจับจ้องเหตุการณ์อันชวนระทึก โดยมีเพียงนักวิทยาศาสตร์และนักบินอวกาศเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ต้องรับภาระในการตัดสินใจซึ่งอาจช่วยชีวิตเขาได้

 

 

 

กู้ตาย 140 ล้านไมล์

  • 01 October 2015
  • Adventure / วิทยาศาสตร์ /
  • 141 นาที
15+

ข่าวที่เกี่ยวข้อง