HIGHLIGHT CONTENT

การสร้างพายุทอร์นาโดที่ไม่มีจริงใน “Into the Storm”

  • 10,245
  • 06 ส.ค. 2014

การสร้างพายุทอร์นาโดที่ไม่มีจริง เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่ยาก และไม่ควรพลาดสักฉาก ในภาพยนตร์เรื่อง “Into the Storm”

พื้นฐานของเควลที่มีการครอบคลุมอย่างกว้างขวางด้านวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ ทำให้เขารู้ว่าเขาต้องใช้อะไรเพื่อสร้างพายุทอร์นาโดขนาดยักษ์ที่จะสร้างความเสียหายให้เมืองจำลองในภาพยนตร์เรื่อง “Into the Storm” และทำให้ผู้ชมถึงกับทึ่ง สำหรับการทำภารกิจอันน่ากลัวให้สำเร็จขึ้นมาได้ เขาต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้สร้างวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ฯ แรนดัล สตาร์ “อย่างแรกที่สตีฟกับผมต้องทำคือการจำลองภาพ ร่างภาพว่าเราต้องการให้ฉากต่างๆ เป็นแบบไหนในคอมพิวเตอร์” สตาร์กล่าว “พายุทอร์นาโดคือสิ่งที่ยากในการนึกภาพแบบ 3 มิติหากจะใช้สตอรี่บอร์ดแบบระนาบเดียว ฉะนั้นการจำลองภาพด้วยคอมพิวเตอร์จึงเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้เห็นภาพของมัน และภาพที่นักล่าพายุในหนังจะเห็นตอนที่พวกเขาพยายามสกัดมันไว้ เราต้องจำลองภาพในฉากต่างๆ หลายครั้ง เพราะพวกเขาต้องเผชิญหน้ากับพายุในหลายรูปแบบ เช่น พายุทอร์นาโดแบบเดิม พายุทอร์นาโดที่เหมือนเกลียวเชือก พายุทอร์นาโดไฟ และพายุทอร์นาโดยักษ์ขนาด 2 ไมล์ พอเราได้เห็นภาพหรือนึกภาพพายุทอร์นาโดแต่ละลูกในคอมพิวเตอร์ เราก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของบริษัทวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์อันดับต้นๆ ของฮอลลีวูด เพื่อเริ่มเร็นเดอร์ภาพเสมือนจริงของพายุในทุกมุมออกมา ตั้งแต่กลุ่มก้อนเมฆเล็กๆ ไปจนถึงขนาดของกรวยพายุที่จะพัดเศษซากขยะบนพื้นได้” นอกจากการสร้างพายุทอร์นาโดที่ไม่มีจริงขึ้นมาแล้ว ทีมวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ต้องเคลื่อนย้ายหลายองค์ประกอบที่ไม่ควรจะเป็นออกไปได้ สตาร์เล่าว่า “เราไม่ได้แค่เติมกลุ่มเมฆลงไปแทนท้องฟ้าที่สดใสเพียงอย่างเดียว แต่เรายังต้องใส่ต้นไม้ พุ่มไม้ กอหญ้า รถ และบางครั้งถนนทั้งเมืองลงไปด้วย เพราะเมื่อเกิดพายุทอร์นาโดจริง องค์ประกอบเหล่านี้จะโดนถอนรากถอนโคนไปหมด ฉะนั้นทีมวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ต้องทำลายแทบทุกอย่างออกไปจากเฟรมเดิม จนสุดท้ายเราก็เคยสงสัยเหมือนกันว่า มีอะไรเหลือในฉากเดิมบ้างนอกจากนักแสดงที่อยู่เบื้องหน้า?” เขาหัวเราะ ซึ่งแน่นอนว่าการมีนักแสดงในฉากจริงคือการทำงานที่ดีที่สุด เพราะเควลจะมีโอกาสดึงการแสดงที่สมจริงจากพวกเขาออกมา เหมือนพวกเขากำลังสู้กับสภาพที่มีลมพัดกระหน่ำ ทีมงานของสตาร์ยังพบอย่างอื่นอย่างรวดเร็วนอกจากพายุทอร์นาโดว่า “หน้าที่ของเราคือากรสะท้อนว่าพายุทอร์นาโดส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมรอบตัวพวกเขาอย่างไรบ้าง โดยการพัดใบไม้และกองขยะขนาดยักษ์ขึ้นไปฉะนั้นไม่ว่ามีพายุทอร์นาโดที่ไหน เราต้องสร้างพายุที่โหมกระหน่ำแบบดิจิตอลขึ้นมาด้วย รวมถึงฝนดิจิตอล เศษขยะ ต้นไม้ พุ่มไม้ ชิ้นส่วนรถ และอื่นๆ อีกหลายอย่าง” สตาร์รีบอธิบายให้ฟังว่าในหนังต้องอาศัยสเปเชียลเอ็ฟเฟ็กต์ที่มีความสมจริงมาก “เราต้องขอความช่วยเหลือจากพวกเขาเพื่อสร้างลมที่โหมกระหน่ำด้วยพัดลมขนาดยักษ์ที่พัดใบไม้ เศษขยะ และฝุ่นละออง ทุกอย่างที่เห็นในภาพยนตร์ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าหรือทรงผมของนักแสดงที่พัด หรือหญ้าที่พัดอยู่ด้านหลังล้วนเป็นภาพที่สมบูรณ์แบบได้เพราะเอ็ฟเฟ็กต์ที่ดูสมจริง” สเปเชียลเอ็ฟเฟ็กต์คือองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในฉากความรุนแรงในภาพยนตร์ ซึ่งเกิดขึ้นในสถานที่ระบายน้ำจากพายุที่คนกลุ่มหนึ่งพยายามหาที่กำบัง พยายามหนีจากพายุ E5 ที่กำลังมุ่งหน้ามา นักแสดงและทีมงานต้องอยู่ภายใต้สภาพลม  100 ไมล์ต่อชั่วโมง สายฝนและเศษเล็กเศษน้อยที่ลอยอยู่กลางอากาศรอบตัวพวกเขา “แน่นอนว่ามันต้องอาศัยเอ็ฟเฟ็กต์หลายอย่างเพื่อสร้างความสมจริง และเป็นความท้าทายจริงสำหรับทุกคนที่อยู่ที่นั่น เอ็ฟเฟ็กต์ที่ดีเยี่ยมจะทำให้เชื่อได้ง่ายกว่ามากว่ามีพายุทอร์นาโดขนาดยักษ์กำลังมุ่งหน้ามาหาพวกเขา” สตาร์กล่าว. องค์ประกอบอื่นที่สำคัญคือการเก็บภาพการโจมตีของพายุที่มีความรุนแรงในเรื่อง “Into the Storm” ที่มีขนาดใหญ่และมีเสียงดังเกิดขึ้นพร้อมกัน ซึ่งมีการควบคุมโดยผู้ควบคุมการเรียบเรียงเสียง เพอร์ ฮัลเบิร์ก “เพอร์เป็นทั้งผู้เรียบเรียงและออกแบบเสียงที่น่าทึ่งมากครับ” เควลกล่าว “สำหรับเรื่องราวที่มีภาพแบบนี้ เขาได้สร้างประสบการณ์ที่ผมคิดว่าหากเราหลับตาก็ยังรู้สึกกลัวสิ่งที่กำลังเข้ามาจากเสียงที่ได้ยินอยู่ดี” ผู้กำกับฯ เล่าถึงตอนที่ได้ร่วมงานกันครั้งแรกว่า “เพอร์บอกผมว่า ‘ผมจะใช้เวลาอยู่ตรงนี้วันนึง ที่ตรงนี้ทำให้ผมทำอะไรได้หลายอย่างเลย’ และเขาก็ทำได้จริง เขาพบวิธีการใช้ทั้งเสียงและความเงียบของมันเพื่อสร้างเอ็ฟเฟ็กต์ที่น่าทึ่งขึ้นมา” เสียงอีกด้านหนึ่งของภาพยนตร์คือเสียงดนตรี ผู้ประพันธ์ดนตรีไบรอัน ไทเลอร์ ได้สร้างรายละเอียดความรู้สึกของเรื่องราวที่สร้างประสบการณ์สุดพิเศษขึ้นมาในชีวิตตัวละครต่างๆ เพียงวันเดียว เควลกล่าวสรุปว่า “ผมหวังว่าเวลาผู้ชมได้ดูหนังเรื่องนี้ พวกเขาจะกลัวในพลังของธรรมชาติ และหวังว่าตัวละครจะถ่ายทอดอารมณ์ไปสู่ผู้ชมได้ว่า พวกเขาเริ่มเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิต ความสำคัญของครอบครัว ความมีมนุษยธรรมของเรา และท้ายที่สุดเราจะพาพวกเขาไปสู่ประสบการณ์อันน่าตื่นเต้นที่พบได้ในภาพยนตร์เท่านั้น_” การสร้างพายุทอร์นาโดที่ไม่มีจริง เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่ยาก และไม่ควรพลาดสักฉาก ในภาพยนตร์เรื่อง “Into the Storm” เล็น เอสคาร์เพต้า , นาธาน เครส , จอน รีพ และเจเรมี่ ซัมพ์เตอร์  กำกับการแสดงโดย สตีเฟ่น เควล

Into the Storm -  โคตรพายุมหาวิบัติกินเมือง 7 สิงหาคมนี้ ในโรงภาพยนตร์

https://www.facebook.com/IntoTheStormThailand